กรณีศึกษา : อาคารจอดรถ 8 ชั้น มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

อาคารจอดรถของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง พบรอยร้าวรอบหัวเสาแตกร้าว เป็นรูปดาวกระจายเป็นจุดและรอยร้าวรอบหัวเสาทีมผู้ออกแบบและที่ปรึกษา บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด ( ท่าน ศ.ดร.วย. อาจารย์อมร พิมานมาศ )ได้วิเคราะห์โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กชนิด Flab slab และสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรมFinite Element Model แล้วพบว่าเกิด Negative Moment ที่หัวเสาจึงทำให้เกิดรอยร้าวที่หัวเสาจำนวนมากและอาจเกิด Punching Shear ได้ เนื่องจากการออกแบบอาคารเดิมเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชนิด “ พื้นไร้คาน ”ภายหลังการสร้างแบบจำลองด้วย Finite Element Model ท่านอาจารย์ทำการออกแบบเพื่อซ่อมแซมรอยร้าวด้วย Epoxy Injection (Smartinjection EP21) เพื่อยึดให้คอนกรีตกลับมายึดติดกันดังเดิม และ ใช้คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon fiber) เสริมกำลังเพื่อแก้ปัญหา Negative moment ที่เกิดขึ้นอย่างถาวร นอกจากนี้การเสริมกำลังด้วยคาร์บอนไฟเบอร์(Carbon fiber)ยังช่วยเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจรอีก 100 กก./ตรม. ตามที่ลูกค้าต้องการถึงจะซ่อมรอยร้าวรอบหัวเสาด้วย Epoxy Injection แต่เนื่องจากการเสริมกำลังด้วยคาร์บอนไฟเบอร์(Carbon fiber)ไม่ได้ช่วยซ่อมแซมรอยร้าวที่เกิดจาก แรงเฉือนทะลุได้ จึงจำเป็นต้องเสริมบ่าเหล็ก ขยายขนาดหัวเสา และเพื่อค้ำยันพื้นจึงสามารถลดแรงเฉือนทะลุได้ โดยการซ่อมแซมรอยร้าว ด้วยEpoxy Injection และการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารด้วยคาร์บอนด์ไฟเบอร์(Carbon fiber) มีแนวทางดังต่อไปนี้คือ
แนวทางในการแก้ไขคือ
1. ซ่อมแซมรอยร้าวด้วย Epoxy Injection (Smartinjection EP 21)
2. ใช้ SmartFiber-Sheet UT 70-30คาร์บอนไฟเบอร์ ชนิดแผ่นเสริมกำลังรอบหัวเสาเพื่อแก้ปัญหารอย
ร้าวที่หัวเสาอันเนื่องมาจาก Negative Moment
3. เสริมบ่าเหล็ก (Steel Bracket) เพื่อลดแรงเฉือนทะลุ (Punching Shear) โดยการใช้บ่าเหล็กค้ำยันพื้น
ไว้เสมือนเป็นการขยายหัวเสา
สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ ใช้ CFRP ในการทำงานประมาณ 10,000เมตร ซ่อมรอยร้าวจำนวน 7,000 เมตร
และเสริมบ่าเหล็กที่หัวเสาเกือบทุกตำแหน่ง พร้อมทั้งเคลือบ Epoxy Coating ความหนา 3.0มม.120,000 ตรม.
ปัจจุบันอาคารนี้ ได้รับการเสริมกำลังมาแล้ว 5 ปี และยังคงสภาพที่สมบูรณ์ปลอดภัยและพร้อมใช้งาน
02 736 9555

(Auto 10 Lines)


