พลาสติกไฟเบอร์เสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยแก้ว(GFRP) สร้างจากการนำเส้นใยแก้วมารวมกันในมัดเมทริกซ์ที่ทำมาจากไวนิลเอสเตอร์ ได้ถูกใช้ในการบูรณภาพมาแล้วเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในการใช้เสริมการต้านแผ่นดินไหว การเสริมการต้านแผ่นดินไหวนั้นเป็นเทคนิคที่ปรับแต่งตัวอาคารคอนกรีตที่ถูกสร้างไว้อยู่แล้ว ปกป้องมันจากอาการดินทรุดและการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ด้วยการป้องกันการสึกกร่อน อัตราส่วนกำลังต่อน้ำหนักที่สูง และความสะดวกในการขนย้ายและติดตั้งทำให้แท่งไฟเบอร์กลาสเป็นวัสดุตัวเลือกอันดับต้นๆในโปรเจคจำนวนมากที่จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการแปรรูปแบบไม่ยืดหยุ่นและมีความแข็งแรงสูง อย่างไรก็ตาม การเสริมFRPนั้นไม่มีประสิทธิภาพในการรับความเค้นและความเครียดในแนวตรงเนื่องจากไม่มีความเหนียว ผลการทดลองได้แสดงให้เห็นว่า แม้แท่งGFPRจะเจอกับแรงกดดันขีดสุดที่ประมาณ50%ของขีดจำกัดการทนแรงดึง สาเหตุที่ทำให้มันไม่สามารถทำงานได้เต็มทีก็เพราะมันขาดคุณสมบัติความเหนียวไป คุณสมบัติความเหนียวต่ำของFRPนั้นเป็นข้อสงสัยอย่างมากต่อการที่จะเอาไปใช้ในการป้องกันผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้กับอาคารมีแบบโมเดลหลายรูปแบบที่แนะนำให้ติดตั้งการเสริมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กกล้าเช่น ทำเป็นคอลัมน์จำกัดเพื่อเพิ่มความเหนียวให้กับโครงสร้าง แต่มันไม่สามารถใช้ได้กับการใช้การเสริมแบบFRPเนื่องจากมันไม่มีความเหนียว แท่งFRPนั้นมีความเหนียวที่ต่างออกไปตามวัสดุที่ใช้ และรุ่นใหม่ก็เริ่มพัฒนาให้มีความเหนียวเพิ่มขึ้นเพื่อความยืนหยุ่นและดีกว่าคอนกรีตล้วน