บริการเสริมกำลังโครงสร้างให้มั่นคงแข็งแรง - ด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ CFRP
02 736 9555
(Auto 10 Lines)
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
บริการ
Strengthening
Inspection, Load Test & CFRP Design
Concrete Repairing
Floor Coating
Pure Polyurea
Waterproofing
Polyurethane Floor
Others
ผลงาน
กรณีศึกษา
CFRP & Steel Strengthening
Inspection, Load Test & CFRP Design
Concrete Repairing
Floor Coating
Pure Polyurea & Waterproofing
Tank Lining
Other
ข่าวสาร
ติดต่อเรา
การเสริมกำลังรอยร้าวบนพื้นยื่นที่เกิดจากการเสริมเหล็กไม่เพียงพอ ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์และการซ่อมแซมรอยร้าวที่เกิดจากการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีต
(Dry Shrinkage)
รอยร้าวที่เกิดขึ้นในบริเวณอาคาร เป็นปัญหาที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นรอยร้าวบริเวณท้องพื้น คาน หรือเสา สิ่งที่แรกที่เราควรทำ คือ การให้ทีมผู้เชี่ยวชาญ เข้าทำการสำรวจและประเมินสาเหตุของความเสียหาย เพื่อสามารถแก้ไขได้ถูกจุดและตรงตามวัตุประสงค์ของการใช้งาน เพราะรอยร้าวที่เกิดขึ้น อาจไปทำลายโครงสร้างจนเกิดความเสียหาย หรือ อาจเป็นรอยร้าวที่ต้องได้รับการแก้ไขทันทีเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของท่าน
ยกตัวอย่าง เช่น อาคารศูนย์การค้า 5 ชั้นแห่งหนึ่ง หลังโครงสร้างอาคารก่อสร้างแล้วเสร็จ พบรอยร้าวเป็นทางยาวที่ใต้ท้องพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็กทั้ง 5 ชั้น และพบรอยร้าวบนพื้นยื่นที่ชั้น 1 ซึ่งในขณะที่เกิดรอยร้าว พื้นรับน้ำหนักบรรทุกรวมเพียง 60% ของที่ออกแบบไว้
จากสภาวะดังกล่าวที่เกิดขึ้น เราสามารถแบ่งแยกแนวทางการซ่อมแซม ออกได้เป็น 2 เรื่องใหญ่ๆ ดังนี้
1. การซ่อมแซมส่วนของใต้ท้องพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็กทั้ง 5 ชั้น
2. การซ่อมแซมรอยร้าวบนพื้นยื่นที่ชั้น 1 ซึ่งพื้นรับน้ำหนักได้เพียง 60% จากที่ออกแบบไว้
โดยการวิเคราะห์สาเหตุ เราใช้การวิเคราะห์และคำนวณตรวจสอบปริมาณเหล็กเสริมที่ต้องการด้วยวิธี Finite Element Method (FEM) ซึ่งได้ผลวิเคราะห์และแนวทางการซ่อมแซม ดังนี้
ส่วนที่ 1 : ส่วนใต้ท้องพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็กทั้ง 5 ชั้น
ผลการวิเคราะห์จากการวิเคราะห์ พบว่า พื้นที่ 5 ชั้นมีปริมาณเหล็กเสริมล่างเพียงพอ ดังนั้น การรับน้ำหนักเกินกำลัง จึงไม่ใช่สาเหตุหลักของรอยร้าวที่พบบริเวณท้องพื้นทั้ง 5 ชั้น
เมื่อพิจารณารอยร้าวที่เกิดขึ้นต่อ จะพบว่า รอยร้าวที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็น “ทางยาวและทะลุ” ความหนาของพื้นคอนกรีต จากการวิเคราะห์สาเหตุของรอยร้าวที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การหดตัวแบบแห้งของคอนกรีต (Drying Shrinkage) ซึ่งมักถูกพบในโครงสร้างพื้นที่ถูกยึดรั้งและมีการสูญเสียน้ำในช่องว่างของคอนกรีต (Capillary Water Loss)
รอยร้าวที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้จะเกิดขึ้น เมื่อหน่วยแรงดึงที่เกิดขึ้นมีค่าเกินกว่ากำลังรับแรงดึงของคอนกรีต โดยพฤติกรรมการหดตัวแบบแห้งนี้ มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกๆของคอนกรีต และจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อคอนกรีตมีอายุประมาณ 1 ปี
แนวทางการแก้ไข
ในทางทฤษฎีแล้ว ถือว่ารอยร้าวอันเนื่องมาจาก การหดตัวแบบแห้งไม่เป็นความเสียหายทางโครงสร้างและไม่มีผลต่อความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นโดยตรง ดังนั้น แนวทางการซ่อมแซมรอยร้าวที่ท้องพื้นที่มีความกว้างกว่า 0.3มม. ทางบริษัทสมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด ดำเนินการซ่อมแซมโดยวิธีใช้ Epoxy Injection (SmartInjection EP21) ซึ่งวิธีนี้ยังสามารถช่วยชดเชยกำลังแรงเฉือนของพื้นคอนกรีตที่ลดลง จากสาเหตุของการเกิดรอยร้าวได้อีกด้วย
ส่วนที่ 2 : รอยร้าวบนพื้นยื่นที่ชั้น 1
ผลการวิเคราะห์ :
สำหรับรอยร้าวที่พบบนพื้นยื่นที่ชั้น 1 พบว่า ตำแหน่งรอยร้าวมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งเหล็กเสริมบนกว่า 70% ซึ่งถูกหยุดที่ขอบแป้นหัวเสา (Drop Panels) ทำให้พื้นยื่นมีกำลังลดลงอย่างฉับพลัน และพบว่า พื้นรับแรงดัดเกินกำลัง รอยร้าวที่เกิดขึ้นจึงมีสาเหตุมาจาก “การเสริมเหล็กไม่เพียงพอ”
แนวทางการแก้ไข
สำหรับรอยร้าวบนพื้นยื่นที่ชั้น 1 ทางบริษัทสมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด ได้ทำการเสริมกำลังด้วย
Carbon Fiber Reinforced Polymer
(
CFRP
) โดยเลือกใช้ Strip Carbon Fiber หรือเรียกว่า คาร์บอนไฟเบอร์ ชนิดเส้น โดยทำการติดตั้งเพื่อเสริมกำลังคาร์บอนไฟเบอร์ที่ด้านบนของพื้น โดยใช้ Strip Carbon Fiber รุ่น SmartFiber-Strip TL-512 หนา 1.2มม. และมีกำลังรับแรงดึง 24,000ksc ซึ่งทำให้พื้นยื่นบริเวณชั้น 1 สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ปลอดภัยตามที่กฎกระทรวงกำหนด
จากกรณีตัวอย่าง เราจะเห็นว่าในหนึ่งอาคาร สามารถเกิดรอยร้าวได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งควรได้รับการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการซ่อมแซมจากทีมวิศกรผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งยังควรได้รับการซ่อมแซมจากทีมงานมืออาชีพที่มีความเข้าใจในการซ่อมรอยร้าวและการเลือกใช้วัสดุที่นำไปใช้อย่างถูกต้อง
หากพบรอยร้าวไม่ว่าจะเป็น บริเวณท้องพื้น คาน เสา ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญของ บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด เพื่อเข้าทำการสำรวจและวิเคราะห์เบื้องต้น และนำเสนอแนวทางในการแก้ไขซ่อมแซม เพื่อความปลอดภัยและความอุ่นใจของทุกท่าน
“ รอยร้าวไม่ใช่เรื่องยาก หากมีความเข้าใจและแก้ไขได้ถูกต้อง”
Concrete Repairing
การเสริมกำลังพื้นถนนด้วย CFRP เพื่อรับน้ำหนักจรจาก 800 กก เพิ่มเป็น 1,250 กกด้วย SmartFiber-Sheet UT70-30 คาร์บอนไฟเบอร์ชนิดแผ่น
ซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาสะพานข้ามคลอง
รู้จักและเข้าใจพฤติกรรมรอยร้าวของคอนกรีต
เสริมกำลังเสาด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber Reinforce Polymer : CFRP)
เสริมกำลังโครงสร้างอาคาร เปลี่ยนแปลงจากพื้นที่สำนักงาน (Post tension) เป็นพื้นที่ Data center ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP)
เสริมกำลังโครงสร้างคานที่รับกำลังได้ต่ำกว่าที่ออกแบบไว้ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์(CFRP)
มาทำความรู้จัก “ คาร์บอนไฟเบอร์ ” (Carbon Fiber) กันครับ
การแก้ไขปัญหาคานแบน (Band-Beam) ที่ไม่เสริมเหล็กล่างหรือเหล็กปลอก ด้วยวัสดุ CFRP
เส้นใยคาร์บอนไฟเบอร์คืออะไร
การพัฒนาและการประยุกต์ใช้งานคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
เทคนิคการออกแบบงานเสริมกำลังพื้น "ระบบพื้นคอนกรีตอัดแรง" (Post-Tensioned) เพื่อแก้ปัญหาลวดอัดแรงขาด ด้วยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ (SmartFiber Sheet UT70-30)
การซ่อมรอยร้าวพื้นคอนกรีตด้วย Epoxy Injection
กำแพงกันระเบิด โดย คาร์บอนไฟเบอร์ และ Pure Polyurea Spray
ประโยชน์ของวัสดุ FRP ในการก่อสร้างและโครงสร้างต้านแผ่นดินไหว
การเสริมกำลังโครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กด้วย CFRP เพื่อต้านทานแผ่นดินไหว
รอยร้าวที่เกิดจากโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง ซ่อมแซมเสริมกำลังอย่างไร?
การเสริมกำลังรอยร้าวบนพื้นยื่นที่เกิดจากการเสริมเหล็กไม่เพียงพอ ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์และการซ่อมแซมรอยร้าวที่เกิดจากการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีต (Dry Shrinkage)
ความหมายและคำนิยามของคำศัพท์ที่ใช้ในงานเสริมกำลังด้วย คาร์บอนไฟเบอร์(CFRP Strengthening Vocabulary)
กรณีศึกษา : อาคารจอดรถ 8 ชั้น มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
ตอนที่ 2 : วิวัฒนาการของคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
การเสริมกำลังสะพานคอนกรีตด้วยคาร์บอนไฟเบอร์
การออกแบบเสริมความแข็งแรงของพื้นไร้คานท้องเรียบระบบ Unbonded Post-tensioned ลวดเกลียว(Strand) ขาดและหลุดออกมาจากสมอ
ยึดลวด (Anchorage) ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
การออกแบบเสริมกำลังของพื้นโรงพยาบาลเพื่อรับเครื่องมือแพทย์
งานเสริมความแข็งแรงพื้น ที่ลวดอัดแรงขาดด้วยคาร์บอนไฟเบอร์( Carbon Fiber ) SmartFiber Strip TL512
บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด
789 ซอยลาดพร้าว 107 แยก 33
ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
SMART AND BRIGHT CO., LTD.
789 SOI LADPRAO 107 YAEK 33,
LADPRAO ROAD, KHLONGCHAN, BANGKAPI, BANGKOK 10240 THAILAND
ติดต่อเรา
Tel :
02-736-9555
Hotline :
088-791-4494
ID line : sabhotline
Fax : 02-736-9648
EMAIL :
[email protected]
บริการ
Strengthening
CFRP Design & Structure Design
Steel Strengthening
Carbon Fiber Strengthening
Inspection, Load Test & CFRP Design
Inspection
Load Test
CFRP Design
Concrete Repairing
Concrete Repair
Epoxy Inject & PU Foam Injection
Epoxy Grouting
Pure Polyurea & Waterproofing
Pure Polyurea
Pure Polyurea @Concrete Roof
Pure Polyurea @Matal Sheet
Ceramic Coating
Acrylic Waterproof
PU Waterproof
Tank Lining
Fiberglass Lining (FRP Lining)
Epoxy Foodgrad Coating
Coal tar Epoxy Coating
Cement Base Coating
Pure Polyurea Spray
Other
Rebar Scanning
Concete Coring
Concete Cuting & Sawing
Cement Grounting & Subsealing
Cement Polymer
Painting
แคทตาล็อค
Innovative Coating Products
The Specialist In Repairing
Strengthening And Coating
All rights reserved @2022 Smart & Bright Co., Ltd.