บริการ CFRP​​ เสริมกำลังโครงสร้างให้มั่นคงแข็งแรง - ด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์

02 736 9555 (Auto 10 Lines)​

การตรวจสอบหน้างานและเตรียมข้อมูลก่อนการเสริมกำลังโครงสร้างด้วย CFRP

26-10-2566
การตรวจสอบหน้างานและเตรียมข้อมูลก่อนการเสริมกำลังโครงสร้างด้วย CFRP

เมื่อเจ้าของโครงการ ผู้รับเหมาโครงการหรือผู้ควบคุมงาน มีความประสงค์ที่จะเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหรือพื้นโพสต์เทนชั่น เริ่มแรกเลย ทางบริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด ต้องสอบถามข้อมูล เพื่อประเมินความต้องการและจุดประสงค์ในการเสริมกำลังโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น

1. เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร โดยการเสริมกำลังด้วย CFRP
2. เพื่อเพิ่มกำลังการรับน้ำหนักของพื้น คาน และ เสา โดยการเสริมกำลังด้วย CFRP
3. เพื่อแก้ปัญหางานก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยการเสริมกำลังด้วย CFRP
4. เพื่อติดตั้งเครื่องจักรใหม่โดยให้โครงสร้างเดิมสามารถรับกำลังได้ โดยการเสริมกำลังด้วย CFRP
5. เพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหวที่โคนเสา ที่เสา ผนังคาน และพื้น ของโครงสร้างอาคาร โดยการเสริมกำลังด้วย CFRP
6. เพื่อชดเชยเหล็กเสริมที่หายไป หรือเพื่อชดเชยลวดรับแรงดึงพื้นโพสเทนชั่นที่ถูกตัดขาด เมื่อเปิดช่องเปิด โดยการเสริมกำลังด้วย CFRP
7. เพื่อชดเชยขนาดเหล็กหรือจำนวนเหล็กเสริม ที่ใส่ไม่ครบหรือใส่ผิดขนาดด้วยการเสริมกำลังทดแทนเหล็กเสริมเดิมด้วย CFRP
8. เพื่อเพิ่มการรับน้ำหนักจรของอาคาร  หรือของพื้นถนน โดยการเสริมกำลังด้วย CFRP
9. เพื่อชดเชยโมเมนต์ลบที่หัวเสาและโมเมนต์บวกที่ใต้ท้องพื้น ของอาคารจอดรถประเภท อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชนิด Flat Slab ไม่มี Drop Panel ด้วยการเสริมกำลังด้วย CFRP และเสริมรับแรงเฉือนทะลุ ( Punching Shear ) ด้วยบ่าเหล็ก
10. เพื่อชดเชยกำลังเหล็กเสริมของเสาที่หายไป หรือชดเชยเหล็กเสริมของคานที่หายไป ด้วยการเสริมกำลังด้วย CFRP
11. เพื่อแก้ปัญหาพื้น ที่มีการเจาะรูคอลลิ่ง (Coring) จำนวนมากโดยการเสริมกำลังด้วย CFRP
12. เพื่อแก้ปัญหาในการรับกำลังของแผ่นพื้น Hollow Core โดยการเพิ่มกำลังของแผ่นพื้นเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถรับกำลังเพิ่มขึ้นได้มาก โดยการเสริมกำลังด้วย  CFRP
13. เพื่อแก้ปัญหารอยแตกร้าว อันเนื่องมาจากวางเหล็กบนผิดตำแหน่งโดยติดตั้งเหล็กเสริมบนต่ำกว่าระดับ 3.0 ซม. เป็นระดับ 7.0-20.0 ซม. โดยการเสริมกำลังพื้นด้านบนด้วย CFRP
14. เพื่อป้องกันรอยฉีดของโครงสร้างโบราณสถาน ที่ทำจากไม้เนื้อแข็งให้ไม่ฉีกขาดและยังคงสามารถรับกำลังได้อย่างเดิมด้วย CFRP  เป็นต้น

นี่คือตัวอย่างกรณีต่างๆที่เกิดขึ้นของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงสร้างไม้ ที่ใช้การเสริมกำลังโครงสร้างด้วยCFRP เพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างให้กลับมาแข็งแรงปลอดภัยดังเดิม หรือดีขึ้นกว่าเดิมในการดำเนินการเสริมกำลังโครงสร้าง เจ้าของโครงการ ผู้รับเหมาโครงการหรือผู้ควบคุมงานจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความสามารถเชิงคุณสมบัติของวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ที่ดีในการแก้ปัญหาให้กับโครงการต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นโดยจำเป็นจะต้องเตรียมข้อมูลต่างๆที่จำเป็นให้กับ บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัดเพื่อให้ทางบริษัทสามารถเตรียมการส่งวิศวกรไปดำเนินการสำรวจโครงสร้าง อาคารต่างๆดังกล่าวข้างต้นได้

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้สำรวจ เพื่อประเมินโครงสร้างอาคาร

1. Pull Off Test เพื่อทดสอบสามารถในการรับแรงดึงของคอนกรีต ว่าเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด 1.5 MPaหรือไม่ หากเมื่อทดสอบแล้วแรงดึงของคอนกรีตดังกล่าวข้างต้นมีไม่เพียงพอจำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขผิวหน้าของคอนกรีตเสียใหม่ โดยการใช้เครื่องลอกผิวหน้าคอนกรีต ( Scarifying Machine ) ดำเนินการลอกผิวหน้าคอนกรีตทีละชั้นลงไปเรื่อยๆ กว่าจะตรวจสอบแล้วผิวคอนกรีตมีความแข็งแรงมั่นคงเพียงพอเมื่อดำเนินการทดสอบด้วยเครื่อง  Pull Off Test อีกครั้ง และมีค่าการรับแรงดึงของคอนกรีต ไม่น้อยกว่า 1.5 MPa.  ก่อนการดำเนินการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารดังกล่าว ด้วย CFRP

2. การดำเนินการทำ  Visual Inspection เพื่อตรวจสอบโครงสร้างที่แท้จริงตามสภาพหน้างานว่าตรงกันกับแบบโครงสร้างที่เจ้าของโครงการส่งมาให้กับ บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด หรือไม่ หากโครงสร้าง อาคารที่ก่อสร้างไม่ตรงกับแบบ ทางบริษัทจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขแบบที่ส่งมาให้ตรงกับความเป็นจริงของอาคารก่อนการส่งข้อมูลให้กับผู้ออกแบบ เสริมกำลัง CFRP ต่อไป

3. ตรวจสอบค่ากำลังการรับแรงอัดของคอนกรีต( Compressive Strength) ว่าสามารถรับกำลังได้มากกว่า 150 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรหรือไม่ โครงสร้างคอนกรีตที่จะต้องใช้ในการติดตั้ง CFRP มีความจำเป็นที่ต้องสามารถรับกำลังได้ไม่น้อยกว่า 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร การทดสอบนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1) วิธีแบบทำลาย โดยการเจาะคอลลิ่งเพื่อนำแท่งคอนกรีตไปกดทดสอบค่าการรับกำลังแรงอัด  หรือ 2) การทดสอบแบบไม่ทำลายโดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Schmidt’s Hammer กดทดสอบหาค่าการรับกำลังแรงอัดของคอนกรีต

4. การตรวจสอบความชื้นของผิวคอนกรีตเพื่อให้แน่ใจว่าผิวของคอนกรีตมีค่าความชื้นไม่เกิน 4% เมื่อวัดด้วยเครื่องมือ Concrete Moisture Meter ให้แน่ใจว่าผิวคอนกรีตแห้งเพียงพอที่จะทำให้วัสดุ Epoxy ชั้นรองพื้น (Smart CF -Resin) สามารถแทรกซึมผ่านเนื้อคอนกรีตเข้าไปสร้างแรงยึดเกาะที่ใต้ผิวคอนกรีตได้อย่างแข็งแรงเพียงพอโดยมีค่า Bond Strength ที่มากกว่า 1.5MPa ภายหลังการเสริมกำลังด้วย CFRP เรียบร้อยแล้ว

5. ดำเนินการตรวจสอบรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนผิวคอนกรีตทั่วทุกพื้นที่ โดยการตรวจสอบว่าขนาดรอยร้าวมีความกว้างเกินกว่า 0.3 มม. หรือไม่ หากขนาดรอยร้าวมีความกว้างเกินกว่า 0.3มม. เมื่อวัดด้วย Crack Width Gauge ให้ดำเนินการซ่อมแซมรอยร้าวดังกล่าวด้วยการอัดฉีดอีพ็อกซี่เข้าสู่รอยร้าว (Epoxy Injection) เมื่อตรวจสอบรอยร้าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการวาดแผนที่รอยร้าวออกมาและดำเนินการซ่อมแซมรอยร้าว โดยแผนที่รอยร้าวดังกล่าวข้างต้นจะมีประโยชน์สำหรับผู้ออกแบบในการตรวจสอบโมเมนต์ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในการออกแบบ ให้ประหยัด ปลอดภัย และแม่นยำมากขึ้น

6. โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหากพบว่ามีความเสียหายของโครงสร้าง อันเนื่องจากการ  1) Spalling ของคอนกรีต 2) ภาวะคาร์บอเนชั่น (Carbonation Attack) 3) คลอไรด์แอทแทค  (Chloride Attack) ให้ดำเนินการซ่อมแซมโครงสร้างของที่เสียหาย ด้วยวิธีการ คอนกรีตรีแพร์ (Concrete Repair) ตาม มาตรฐาน มยผ. 1901-51 ให้เรียบร้อยเสียก่อนการดำเนินการติดตั้งด้วย CFRP

7. วิศวกรที่ตรวจสอบหน้างาน จำเป็นจะต้องเทียบแบบ งานระบบไฟฟ้าและประปา ตลอดจนงานดับเพลิงและระบบปรับอากาศ ว่ามีตำแหน่งงานระบบสำคัญใดบ้าง ที่กีดขวางการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ หากพบเบื้องต้นว่างานติดตั้งงานระบบไฟฟ้าประปา ระบบปรับอากาศหรือระบบดับเพลิง ดังกล่าวข้างต้นกีดขวางการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์แล้ว ให้ดำเนินการแจ้งผู้ออกแบบโดยการวัดระยะงานระบบต่างๆที่กีดขวางดังกล่าวนั้นใส่ไปในรายละเอียดของแบบเพื่อให้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบหลบหลีกงานระบบสำคัญที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ แทนกันหรืองานระบบเก่าออกซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ตามปกติงานระบบไฟฟ้าหรือประปาที่ติดอยู่ใต้ท้องพื้นหรือบนพื้นจำเป็นจะต้องถูกรื้อออกโดยผู้ว่าจ้างให้ได้ระดับต่ำกว่าใต้ท้องพื้นประมาณ 30 เซนติเมตรเพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ ซ่อมโครงสร้างสามารถใช้เครื่องมือหินเจียรและอุปกรณ์ต่างๆใน การเตรียมผิวคอนกรีตและการติดตั้ง CFRP

8. หากมีงานตัดคอนกรีตร่วมอยู่กับงานเสริมกำลังโครงสร้างด้วย CFRP ให้วิศวกรที่ตรวจสอบหน้างานดำเนินการประชุมกับผู้ควบคุมงานว่างานใดเริ่มก่อนงานใดเริ่มทีหลัง โดยหากงานตัดคอนกรีตเริ่มก่อนในตำแหน่งโครงสร้างที่สำคัญจำเป็นจะต้องติดตั้งค้ำยันเพื่อป้องกันไม่ให้องค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กดังกล่าวเสียหาย หรือถล่มลงมาจากงานตัดคอนกรีตได้ หากงานเสริมกำลัง CFRP เริ่มก่อนให้ดำเนินการแจ้งต่อผู้ควบคุมงานว่า บริษัทที่ดำเนินการตัดคอนกรีต จำเป็นจะต้องระมัดระวังไม่ให้ตัดคอนกรีตพลาดไปตัดโดนแนว CFRP ที่ติดตั้งไปแล้วได้รับความเสียหายหรือไม่ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำฉีดบริเวณที่ติดตั้ง CFRP  เพื่อป้องกันไม่ให้คาร์บอนไฟเบอร์เปียกและอาจจะได้รับความเสียหาย และผลกระทบตามมาคืออาจทำให้ CFRP หลุกล่อนได้  มันจะต้องมีมาตรการในการป้องกันน้ำเพื่อไม่ให้ CFRP ได้รับความเสียหาย

9. หากบริเวณใต้ท้องพื้นมีงานสกิม (Skim) ให้เรียบและงานทาสีใต้ท้องพื้นหรือบริเวณเสา บนเนื้อคอนกรีตที่จะดำเนินการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ วิศวกรผู้ประเมินหน้างานจำเป็นจะต้องแจ้งต่อผู้ควบคุมงานหรือเจ้าของโครงการว่าบริษัทผู้ติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์จำเป็นจะต้องรื้อสีและผิวสกิม ( Skim) ออกทั้งหมดจนพบเนื้อคอนกรีตโครงสร้างที่มีความแข็งแรงมั่นคงเพียงพอจึงสามารถติดตั้ง CFRP  ได้

10. หากด้านบนพื้นคอนกรีตพบสิ่งกีดขวาง เช่น เมมเบรน วัสดุกันซึมบนดาดฟ้า  ซีเมนต์มอร์ต้าบนพื้นคอนกรีต  กระเบื้อง กระเบื้องยาง  ผิวลามิเนต งานไม้จริงงานไม้เทียม แกรนิต พื้นหินอ่อน หรือพื้นใดๆ ก็ตาม หรือวัสดุใดใดก็ตามที่ติดตั้งอยู่บนพื้นคอนกรีตโครงสร้างจริงให้ดำเนินการหรือผิวดังกล่าวข้างต้นออกทั้งหมด จนพบคอนกรีตโครงสร้างจริง จึงสามารถดำเนินการติดตั้งงานเสริมกำลังด้วย CFRP ได้

11. งานเสริมกำลังโครงสร้างด้วยคาร์บอนไฟเบอร์บนดาดฟ้าที่จะต้องเจอสภาวะแดดฝนความเปียกชื้นอยู่สม่ำเสมอนั้น ให้ดำเนินการติดตั้งวัสดุกันซึมประเภท เพียวโพลี่ยูเรีย ( Pure Polyurea Spray ) ทับบน CFRP ที่ติดตั้งไว้แล้วเรียบร้อย เพื่อไม่ให้ความชื้นแสงแดดสัมผัสกับ CFRP โดยตรง

12. ผิวคอนกรีตที่ไม่เรียบ มีรอยตะเข็บมี และมีหลุมเล็กๆ ( Bug Hole ) รอยต่อคอนกรีตที่ทำให้ผิวมีระดับที่แตกต่างกัน จนปรากฏชัดหรือรอยต่อของแบบรอยที่ปรากฏชัดบนผิวคอนกรีต ให้ดำเนินการขัดเจียรด้วยเครื่องขัดเจียรจนมีความเรียบเพียงพอและให้ดำเนินการฉาบ Epoxy Putty เพื่อปรับเรียบผิวคอนกรีตดังกล่าว ให้มีความเรียบเพียงพอที่จะติดตั้ง CFRP ได้

13. โพรงคอนกรีต ( Honey Comb ) จำเป็นจะต้องซ่อมแซมก่อนการดำเนินการติดตั้ง CFRP ด้วยการอัดฉีด Epoxy Grout เข้าสู่โพรงคอนกรีต จนเต็มเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างคอนกรีตเดิมก่อนการติดตั้ง CFRP

14. ระดับที่มีความแตกต่างกันบริเวณแบนบีม ( Band Beam ) หรือบริเวณคานที่ติดกับตำแหน่ง ใต้ท้อง พื้น ให้ดำเนินการปั้นบัวอีพ็อกซี่ (Epoxy Curb) เพื่อช่วย แก้ปัญหาไม่ให้คาร์บอนไฟเบอร์ที่ติดตั้งหักงอและ ช่วยถ่ายแรงได้ดี

15. กำหนดตำแหน่งรูเจาะคอลลิ่งไว้ให้ชัดเจนในแบบก่อนการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อให้ผู้ออกแบบสามารถเว้นตำแหน่งดังกล่าว หรือเสริมกำลังเพิ่มเติมบริเวณโดยรอบตำแหน่งรูเจาะคอลลิ่งเพื่อให้บริเวณดังกล่าวสามารถรับกำลังและมีความแข็งแรงเพียงพอ

16.แนวการติดตั้งงานระบบใต้ท้องพื้น หากมีการเจาะรูในภายหลังหรือผู้ควบคุมงานสามารถแจ้งได้อย่างชัดเจนว่าระยะใดที่จะใช้ติดตั้งงานระบบตลอดแล้วจะทำให้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบ หลบหลีก ตำแหน่งเจาะดังกล่าวได้หรือหากไม่สามารถหลบหลีก ตำแหน่งเจาะดังกล่าวได้ผู้ออกแบบจะดำเนินการเพิ่มจำนวนชั้นของคาร์บอนไฟเบอร์ ซ่อมโครงสร้างที่ติดตั้งในบริเวณแนวเจาะรูที่เตรียมไว้สำหรับติดตั้งงานระบบไว้เพิ่มเติมเพื่อชดเชยกำลังของคาร์บอนไฟเบอร์ที่ถูกเจาะและหายไป

17. การเตรียมการในบริเวณหน้างานจะต้องคำนึงถึงการติดตั้งนั่งร้านโดยจะต้องตรวจสอบตำแหน่งติดตั้งนั่งร้านว่าสามารถใช้นั่งร้านประกอบประเภทใดได้บ้างและนั่งร้านดังกล่าวมีความสูงในระดับที่เป็นอันตรายต่อช่างผู้ติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์หรือไม่หากนั่งร้านมีความสูงเกินกฎหมายกำหนดจำเป็นจะต้องให้ช่างผู้ชำนาญการในการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์สวมเข็มขัดนิรภัย ( Safety Belt ) เพื่อป้องกันไม่ให้ช่างที่ทำงานอยู่บนนั่งร้านล้มลงมาจากนั่งร้านจากอุบัติเหตุใดๆ ก็ตาม

18. การขนย้ายอุปกรณ์จากรถเข้าสู่หน้างาน วิศวกรหน้างานจำเป็นจะต้อง ศึกษาขนาดช่องประตูลิฟท์หรือการขนย้ายวัสดุไว้ให้เรียบร้อยเนื่องจากมีอุปกรณ์หลายชิ้นที่ใช้งานที่มีน้ำหนักมากหรือมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะเข้าประตูได้

19. วิศวกรหน้างานจำเป็นจะต้องตรวจสอบตำแหน่งติดตั้งตู้ไฟ และจำนวนแอมไฟฟ้าที่โครงการอนุญาตให้ใช้ได้หรือมีสายไฟชนิดสองเฟสหรือสามเฟสในโครงการก่อนการเริ่มทำงาน

เมื่อผู้ออกแบบได้รับรายละเอียดต่างๆจากวิศวกรหน้างานเรียบร้อยแล้ว ผู้ออกแบบจะนำรายละเอียดดังกล่าวมาประเมินร่วมกันกับการขึ้นโมเดลไฟไนท์อีเลเม้นท์ ( FEM Model ) แล้วจึงดำเนินการออกแบบจัดทำรายการคำนวนแบบติดตั้งให้

บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด รับติดตั้ง CFRP เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารทั้งแบบ Strengthning และ Retrofit แบบครบวงจร (One Stop Service)  ตั้งแต่ทีมสำรวจ วิเคราะห์ ออกแบบ วางแผนการซ่อม และเข้าดำเนินการติดตั้ง โดยใช้วัสดุวิศกรรมชั้นสูงที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากล

คาร์บอนไฟเบอร์ ซ่อมโครงสร้าง, CFRP
คาร์บอนไฟเบอร์ ซ่อมโครงสร้าง, CFRP
คาร์บอนไฟเบอร์ ซ่อมโครงสร้าง, CFRP
คาร์บอนไฟเบอร์ ซ่อมโครงสร้าง, CFRP

ติดต่อเรา บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด รับทํากันซึมดาดฟ้า ซ่อมรอยร้าวคอนกรีต
Facebook : smartandbright
Phone : 02-736-9555
Line : sabhotline

Concrete Repair​ing​

SMART & BRIGHT | บริการรับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรม ซ่อมโครงสร้างอาคาร เสริมกำลังโครงสร้าง CFRP​​
บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด
789 ซอยลาดพร้าว 107 แยก 33
ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
SMART AND BRIGHT CO., LTD.
​789 SOI LADPRAO 107 YAEK 33,
LADPRAO ROAD, KHLONGCHAN, BANGKAPI, BANGKOK 10240 THAILAND
ติดต่อเรา
Tel : 02-736-9555
Hotline : 088-791-4494
ID line : sabhotline
Fax : 02-736-9648
EMAIL : [email protected]
แคทตาล็อค
Innovative Coating Products
The Specialist In Repairing
Strengthening And Coating
All rights reserved @2023 Smart & Bright Co., Ltd.