บริการเสริมกำลังโครงสร้างให้มั่นคงแข็งแรง - ด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ CFRP
02 736 9555
(Auto 10 Lines)
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
บริการ
Strengthening
Inspection, Load Test & CFRP Design
Concrete Repairing
Floor Coating
Pure Polyurea
Waterproofing
Polyurethane Floor
Others
ผลงาน
กรณีศึกษา
CFRP & Steel Strengthening
Inspection, Load Test & CFRP Design
Concrete Repairing
Floor Coating
Pure Polyurea & Waterproofing
Tank Lining
Other
ข่าวสาร
ติดต่อเรา
การแก้ไขปัญหาคานแบน (Band-Beam) ที่ไม่เสริมเหล็กล่างหรือเหล็กปลอก ด้วยวัสดุ CFRP
ถึงแม้ว่าคุณสมบัติของคอนกรีต จะสามารถรับแรงอัดได้ดี แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถรับแรงดึงได้น้อยมาก ดังนั้นแล้ว ในการออกแบบของวิศวกรจึงนิยมออกแบบโครงสร้างให้คอนกรีตรับเฉพาะแรงอัดเป็นหลัก และเสริมเหล็กเพื่อต้านทานแรงดึง
จากหน้าที่และคุณสมบัติดังกล่าวของคอนกรีตที่รับแรงอัด และเหล็กเสริมในคอนกรีตถูกออกแบบมาเพื่อรับแรงดึงนั้น ในการออกแบบคาน วิศวกรจึงต้องวางตำแหน่งของเหล็กเสริมต้านทานแรงดึงด้านล่างของคาน ส่วนแรงอัดที่เกิดขึ้นบริเวณขอบบนของคาน คอนกรีตสามารถรับแรงอัดได้ดีอยู่แล้ว จึงมีการเสริมเหล็กด้านบนของคานเพียงเล็กน้อย เพื่อรองรับเหล็กปลอกเท่านั้น
ดังนั้นแล้ว หากโครงสร้างคานคอนกรีต ไม่มีการเสริมเหล็กด้านล่างคาน แรงดึงที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดรอยร้าวบริเวณท้องพื้น ในบริเวที่รับโมเมนต์บวกได้ ซึ่งแสดงถึงการรับโมเมนต์บวกที่เกินกำลัง
ใน
การเสริมกำลังโครงสร้าง
เพื่อแก้ปัญหารอยร้าวที่ Band-Beam นั้น สามารถเสริมกำลังได้หลายรูปแบบ เช่น
1.การเสริมกำลังโครงสร้างด้วยการหุ้มด้วยคอนกรีต (Concrete Jacketing)
2.การเสริมกำลังโครงสร้างด้วยการหุ้มด้วยแผ่นเหล็ก (Steel Jacketing)
3.การเสริมกำลังโครงสร้างด้วย
CFRP
(
Carbon Fiber Reinforced Polymer
)
การเสริมกำลังโครงสร้างอาคาร สามารถเสริมกำลังได้ในหลายๆรูปแบบ ซึ่งการเลือกใช้การเสริมกำลังโครงสร้างด้วย CFRP หรือ เรียกว่า เสริมกำลังด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ เป็นการเสริมกำลังโครงสร้างที่ทำให้ไม่เสียรูปทรงทางสถาปัตยกรรม เนื่องจากคุณสมบัติที่ดีของคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบา มีความสามารถในการรับแรงสูง และมีความต้านทานการผุกร่อนสูง
กรณีตัวอย่าง การเสริมกำลังโครงสร้างด้วย
CFRP
ของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นเดียวที่เกิดรอยร้าว เนื่องจากคานแบน (Band-Beam) ไม่เสริมเหล็กล่างหรือเหล็กปลอกเกือบทุกช่วงเสา
โครงสร้างอาคาร เป็นหลังคาคอนกรีตก่อสร้างแบบพื้นไร้คาน (Flat Slab) ขนาด 24x49ม. เป็นขนาดพื้นทั่วไปที่ความหนา 200มม. มีคานแบนในแนวเสาหนา 400มม. คานแบนไม่เสริมเหล็กล่างหรือเหล็กปลอกเกือบทุกช่วงเสาบริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด เข้าทำการสำรวจ พบรอยร้าวที่กึ่งกลางท้องคานในทิศทางขวาง แสดงถึงการรับโมเมนต์บวกที่เกิดกำลัง (Flexural Overstressing) และพบรอยร้าวลักษณะเดียวกันจำนวน 17 ช่วงคาน และวิเคราะห์ปัญหาโครงสร้างด้วยวิธี Finite Element Method (FEM) แบบ 2 มิติ และคิดผลของ Load Patterns เพื่อความแม่นยำ
ผลการวิเคราะห์ : พบว่าคานแบน (Band-Beam) ทุกช่วงเสา ต้อง
เสริมกำลังโครงสร้าง
เพื่อต้านทานโมเมนต์บวก โดยการเสริมกำลังด้วย CFRP โดยใช้แผ่น คาร์บอนไฟเบอร์ ชนิด Sheet Carbon Fiber รุ่น SmartFiber Sheet UT70-30
แนวทางการซ่อมแซม : ทำการติดตั้ง Sheet Carbon Fiber (SmartFiber Sheet UT70-30) ตลอดแนวคาน โดยเสริมกำลังด้วย CFRP เพื่อแทนการเสริมเหล็กล่าง และ ทำการเสริมแผ่น CFRP Sheet ในแนวขวางของคานในลักษณะ U-Wrap เพื่อทดแทนเหล็กทางขวางหรือเหล็กปลอกที่ขาดไป และเพื่อความปลอดภัย
ก่อนติดตั้งแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) จะต้องทำการค้ำยันก่อน และ ซ่อมรอยร้าวที่มีความกว้างมากกว่า 0.3มม. ด้วย Epoxy Injection (SmartInjection EP21) เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมและเหล็กเสริมเสื่อมสภาพ โดยมีขั้นตอนการเสริมกำลังบริเวณ Band-Beam ดังนี้
1. ดำเนินการซ่อมรอยร้าวคอนกรีตด้วย Epoxy Injection โดยใช้วัสดุ SmartInjection EP21
2 ดำเนินการขัดเจียร Band Beam และลบมุมอย่างน้อย 13 มม. เป็นมุมโค้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ( Carbon Fiber ) หักงอและไม่สามารถ ถ่ายแรงได้
3. เคลือบวัสดุ Epoxy ชั้นรองพื้น เพื่อสร้างการยึดเกาะที่ดีระหว่าง Band Beam และ แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ( Carbon Fiber)
4. การเสริมกำลังด้วย CFRP โดยการนำแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ปูให้เรียบและเคลือบทับด้วย Epoxy Resin กลิ้งด้วยลูกกลิ้งไล่ฟองอากาศเพื่อ ให้ปริมาณฟองอากาศน้อยที่สุด
5. หากจำเป็นต้องทาสีทับ CFRP ให้จัดทำ Shop Drawing โดยละเอียด เพื่อให้ทราบระยะและตำแหน่งที่ เสริมกำลังคาร์บอนไฟเบอร์ จริง
อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกวัสดุเพื่อนำมาเสริมกำลังโครงสร้างอาคารที่ดี จึงควรต้องเหมาะสมกับอาคารมากที่สุด อีกทั้ง ความเชี่ยวชาญของผู้ออกแบบและติดตั้ง วัสดุที่ใช้เสริมกำลังโครงสร้าง วัสดุที่ใช้ในการยึดเหนี่ยวที่เหมาะสมกับสภาพของคอนกรีต เทคนิคในการติดตั้งก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ควรพิจารณาและนอกเหนือจากนั้นควรพิจารณาปัจจัยในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากเทคนิคเพียงอย่างเดียว เช่น ราคาต้นทุน ระยะเวลา ประสิทธิภาพของโครงสร้างเดิม รูปแบบการใช้งานและประโยชน์ที่ต้องการ ผลกระทบต่อสถาปัตยกรรมและความสวยงามของอาคาร เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการเลือกใช้วัสดุเพื่อนำมาเสริมกำลงโครงสร้างอาคารทั้งสิ้น
หากพบรอยร้าวหรือต้องการเปลี่ยนแปลงการใช้งานโครงสร้างอาคาร ท่านจึงควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการสำรวจ วิเคราะห์ ออกแบบวางแผน และทำการติดตั้ง โดยผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ และมืออาชีพ
Concrete Repairing
การเสริมกำลังพื้นถนนด้วย CFRP เพื่อรับน้ำหนักจรจาก 800 กก เพิ่มเป็น 1,250 กกด้วย SmartFiber-Sheet UT70-30 คาร์บอนไฟเบอร์ชนิดแผ่น
ซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาสะพานข้ามคลอง
รู้จักและเข้าใจพฤติกรรมรอยร้าวของคอนกรีต
เสริมกำลังเสาด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber Reinforce Polymer : CFRP)
เสริมกำลังโครงสร้างอาคาร เปลี่ยนแปลงจากพื้นที่สำนักงาน (Post tension) เป็นพื้นที่ Data center ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP)
เสริมกำลังโครงสร้างคานที่รับกำลังได้ต่ำกว่าที่ออกแบบไว้ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์(CFRP)
มาทำความรู้จัก “ คาร์บอนไฟเบอร์ ” (Carbon Fiber) กันครับ
การแก้ไขปัญหาคานแบน (Band-Beam) ที่ไม่เสริมเหล็กล่างหรือเหล็กปลอก ด้วยวัสดุ CFRP
เส้นใยคาร์บอนไฟเบอร์คืออะไร
การพัฒนาและการประยุกต์ใช้งานคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
เทคนิคการออกแบบงานเสริมกำลังพื้น "ระบบพื้นคอนกรีตอัดแรง" (Post-Tensioned) เพื่อแก้ปัญหาลวดอัดแรงขาด ด้วยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ (SmartFiber Sheet UT70-30)
การซ่อมรอยร้าวพื้นคอนกรีตด้วย Epoxy Injection
กำแพงกันระเบิด โดย คาร์บอนไฟเบอร์ และ Pure Polyurea Spray
ประโยชน์ของวัสดุ FRP ในการก่อสร้างและโครงสร้างต้านแผ่นดินไหว
การเสริมกำลังโครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กด้วย CFRP เพื่อต้านทานแผ่นดินไหว
รอยร้าวที่เกิดจากโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง ซ่อมแซมเสริมกำลังอย่างไร?
การเสริมกำลังรอยร้าวบนพื้นยื่นที่เกิดจากการเสริมเหล็กไม่เพียงพอ ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์และการซ่อมแซมรอยร้าวที่เกิดจากการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีต (Dry Shrinkage)
ความหมายและคำนิยามของคำศัพท์ที่ใช้ในงานเสริมกำลังด้วย คาร์บอนไฟเบอร์(CFRP Strengthening Vocabulary)
กรณีศึกษา : อาคารจอดรถ 8 ชั้น มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
ตอนที่ 2 : วิวัฒนาการของคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
การเสริมกำลังสะพานคอนกรีตด้วยคาร์บอนไฟเบอร์
การออกแบบเสริมความแข็งแรงของพื้นไร้คานท้องเรียบระบบ Unbonded Post-tensioned ลวดเกลียว(Strand) ขาดและหลุดออกมาจากสมอ
ยึดลวด (Anchorage) ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
การออกแบบเสริมกำลังของพื้นโรงพยาบาลเพื่อรับเครื่องมือแพทย์
งานเสริมความแข็งแรงพื้น ที่ลวดอัดแรงขาดด้วยคาร์บอนไฟเบอร์( Carbon Fiber ) SmartFiber Strip TL512
บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด
789 ซอยลาดพร้าว 107 แยก 33
ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
SMART AND BRIGHT CO., LTD.
789 SOI LADPRAO 107 YAEK 33,
LADPRAO ROAD, KHLONGCHAN, BANGKAPI, BANGKOK 10240 THAILAND
ติดต่อเรา
Tel :
02-736-9555
Hotline :
088-791-4494
ID line : sabhotline
Fax : 02-736-9648
EMAIL :
[email protected]
บริการ
Strengthening
CFRP Design & Structure Design
Steel Strengthening
Carbon Fiber Strengthening
Inspection, Load Test & CFRP Design
Inspection
Load Test
CFRP Design
Concrete Repairing
Concrete Repair
Epoxy Inject & PU Foam Injection
Epoxy Grouting
Pure Polyurea & Waterproofing
Pure Polyurea
Pure Polyurea @Concrete Roof
Pure Polyurea @Matal Sheet
Ceramic Coating
Acrylic Waterproof
PU Waterproof
Tank Lining
Fiberglass Lining (FRP Lining)
Epoxy Foodgrad Coating
Coal tar Epoxy Coating
Cement Base Coating
Pure Polyurea Spray
Other
Rebar Scanning
Concete Coring
Concete Cuting & Sawing
Cement Grounting & Subsealing
Cement Polymer
Painting
แคทตาล็อค
Innovative Coating Products
The Specialist In Repairing
Strengthening And Coating
All rights reserved @2022 Smart & Bright Co., Ltd.