ฝ่ายออกแบบและ วิศวกรรมของ บริษัทสมาร์ทแอนด์ไบรท์ จำกัด รับติดตั้ง CFRP ได้รับโจทย์จากลูกค้า ที่เป็น Consult ผู้ควบคุมงาน ก่อสร้างว่า โครงสร้างอาคาร เสริมเหล็ก 7 ชั้น ชนิดเสาคานพื้น ที่ควบคุมงานอยู่นั้นตรวจพบว่าผู้รับเหมาใส่เหล็กเสริมผิดขนาด โดยดั้งเดิม จำเป็นจะต้องเสริมเหล็กที่เสาขนาด 24 มิลลิเมตร แต่ผู้รับเหมาเสริมเหล็กขนาด 12,มิลลิเมตร เพื่อใช้เป็นเหล็กยืน ของเสา ทุกต้น ที่รับพื้นชั้นบน ชั้น 4,5,6,7 ของอาคาร
โดยตามปกติลูกค้ามักจะเข้าใจว่าเหล็กยื่นที่หายไปจาก 24 มิลลิเมตร เหลือ 12 มิลลิเมตร นั้นเหล็กหายไปครึ่งหนึ่ง แต่ความเป็นจริงคือหน้าตัดเหล็กหายไป เท่ากับ Diameter 24 mm. (452.16 ตร.มม.) เหลือ 12 mm (113.04 ตร.มม.) ซึ่งหน้าตัดเหล็กต่างกันถึง 4เท่า จึงเท่ากับว่าเหล็กโครงสร้างหายไปถึง 75%
เมื่อออกแบบของ บริษัทสมาร์ท แอนด์ไบรท์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ดำเนินการตรวจสอบโครงสร้าง ดำเนินการตรวจสอบแบบที่ผู้ออกแบบโครงสร้างได้ออกแบบไว้ ตลอดจน ตรวจสอบ รายการคำนวณเดิม และดำเนินการทำโมเดล FEM Model ( ไฟไนท์อีลิเม้นท์ โมเดล ) เพื่อตรวจสอบโมเมนต์ที่เกิดขึ้น ออกแบบที่ใช้เสริมกำลังโครงสร้างด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ ซ่อมโครงสร้าง ( Carbon Fiber ) และรายการคำนวณใหม่ที่ทดแทนด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ ( Carbon Fiber ) เทียบกับปัญหาการเสริมเหล็กเสริมที่ติดตั้งผิดขนาดแล้วพบว่า ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการทดแทนเหล็กเสริมซึ่งเป็นเหล็กยืนโดยการชดเชยส่วนต่าง ของ ขนาดเหล็กเสริมในคอนกรีตเดิม ที่หายไป ด้วยคาร์บ่อนไฟเบอร์ ( Carbon Fiber )
โดยผู้ออกแบบกำหนดให้ใช้คาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber ) ชนิด Sheet Carbon Fiber ของบริษัทสมาร์ทแอนด์ไบรท์ รุ่น Smart Fiber Sheet UT70-30 ร่วมกับการใช้ คาร์บอนไฟเบอร์ ซ่อมโครงสร้าง ( Carbon Fiber ) ชนิด แผ่นลามิเนต รุ่น SmartFiber Strip TL1020 ซึ่งมีความหนา 2.0 มิลลิเมตร ในการออกแบบ โดย เริ่มจาก
ทางบริษัทดำเนินการส่งวิศวกรโยธาเข้าไปสำรวจหน้างาน เพื่อประเมินความเสียหายของโครงสร้างอาคารและตรวจสอบดูว่าเหล็กเสริมที่หายไปเป็นไปตามแบบที่ ผู้ควบคุมงานส่งให้หรือไม่ วิศวกรโยธาที่บริษัทส่งเข้าไปสำรวจกลับมารายงานว่าตำแหน่งเสาและขนาดเหล็กเสริม ในเสาคอนกรีต ที่ เสริมไว้ผิดขนาดนั้นตรงตามแบบที่ผู้ควบคุมงานส่งให้ และยืนยันกลับไปยังผู้ออกแบบ
วิศวกรผู้ควบคุมงาน แจ้งว่าเสามีความสูงประมาณ 4 เมตรจำเป็นจะต้องใช้นั่งร้าน ประกอบ สองชั้น แต่ไม่จำเป็นจะต้องติดตั้งค้ำยัน ในการทำงาน โดยปัจจุบันหน้างานยังไม่มีการก่อผนังอาคาร จึงไม่จำเป็นต้องทุบรื้อผนังเพื่อเสริมกำลังโครงสร้างเสา ส่วนงานระบบไฟฟ้ายังไม่ได้เริ่มติดตั้งจึงทำให้บริเวณโดยรอบเสาไม่จำเป็นต้องหรืองานระบบทั้งหมดออก วิศวกรหน้างาน ( Site Engineer ) ของบริษัทสมาร์ทแอนด์ไบรท์ ประเมิน สภาพหน้างานแล้ว พบว่าผโครงการดังกล่างหากติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ ซ่อมโครงสร้าง ( Carbon Fiber ) จะใช้เวลา ประมาณ 15วันทำงาน
การประเมินคุณภาพคอนกรีต สภาพเนื้อคอนกรีตที่ตรวจสอบ พบว่ามีความแข็งแรง เพียงพอไม่มี โพรงคอนกรีต พี่ต้องดำเนินการอัดฉีดอีพ็อกซี่ อินเจ็คชั่น (Epoxy Injection ) ก่อนการทำงาน สภาพคอนกรีตโดยรวมมีความสมบูรณ์และความเรียบที่ดีพร้อมสำหรับการติดตั้งงานคาร์บอนไฟเบอร์ได้ ยกเว้นบริเวณตะเข็บรอยต่อคอนกรีตที่จะต้องดำเนินการขีดแต่งเจียรออก ไม่มีความเรียบเพียงพอต่อการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ ( Carbon Fiber )
เมื่อผู้ออกแบบได้ ทราบถึงสภาพหน้างานตำแหน่งเสาและแบบที่ถูกต้องแล้วจึงดำเนินการออกแบบตามความต้องการของลูกค้า และมาตรฐานดังนี้คือ
เกณฑ์และมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ
1.มาตรฐานและข้อกำหนดในการออกแบบอาคาร
มาตรฐานและข้อกำหนดในการออกแบบอาคารมีดังต่อไปนี้
1.1 น้ำหนักบรรทุกคงที่และน้ำหนักบรรทุกจร
• กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมงานอาคาร
1.2 การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
• มาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(วสท.) วิธีกำลัง
• American Concrete Institute (ACI 318-99)
1.3 การออกแบบเสริมกำลังด้วยคาร์บอนไฟเบอร์
• American Concrete Institute (ACI 440.2R-08)
ผู้ออกแบบได้ดำเนินการจำลองแรงที่เกิดในโครงสร้างด้วยโปรแกรม Finite Element Model เพื่อตรวจสอบโมเมนต์ที่เกิดขึ้นตลอดจนแรงดัดแรงเฉือน ที่หัวเสาและโคนเสา อย่างครบถ้วน
ดำเนินการจัดทำแบบ ติดตั้ง รายการคำนวณ และ ปริมาณวัสดุ คาร์บอนไฟเบอร์ทั้งชนิด Sheet และ Strip ที่ต้องใช้ในการทดแทนกำลังที่หายไป กลับคืนเท่ากับขนาดเหล็กเสริมเดิม
ดำเนินการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ ( Carbon Fiber ) SmartFibe Sheet UT70-30 และ SmartFiber Strip TL1020 ที่มีความหนามาก และสามารถทดแทน เหล็กขนาดใหญ่ได้ดี
1. เตรียมผิว คอนกรีตด้วยเครื่องขัดเจียร จนพบเนื้อคอนกรีตโครงสร้างที่ดีมีความแข็งแรงเพียงพอต่อ ไม่น้อยกว่า 1.5 นิวตันที่ต่อตารางมิลลิเมตร
2. ใช้ลูกกลิ้งทารองพื้นให้ทั่วบริเวณเสาให้ชุมเพื่อสร้างแรงยึดเกาะ
3. ดำเนินการติดตั้ง คาร์บอนไฟเบอร์ { Carbon Fiber ) SmartFiber Strip TL1020 ตลอดความสูงของเสา ทั้งสี่ด้าน ตรวจสอบให้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ติดแน่นกับเสาโดยไม่มีฟองอากาศ
4. ดำเนินการติดตั้ง คาร์บอนไฟเบอร์ SmartFiber Sheet UT70-30 โดยพันรอบเสาจากด้านบนลงสู่ด้านล่างจำนวน 2 ชั้น ทับ SmartFiber strip
5. ดำเนินการเคลือบอีพอคซี่ Smart CF-Resin ให้ทั่ว และ โรยทรายเพื่อให้ฉาบปูนทับได้ง่าย
สรุปว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องขนาดของเหล็กเสริมไม่ตรงกับแบบสามารถแก้ไขด้วยการชดเชยขนาดเหล็กเสริมที่หายไป ด้วยการเสริมกำลังด้วย คาร์บอนไฟเบอร์ ที่เรียกว่าการติดตั้ง CFRP นั่นเอง ซึ่งทำได้โดยง่ายสะดวกรวดเร็วและมีมาตรฐานการควบคุมงานที่ดีเยี่ยม
Image: ก่อนการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารด้วย CFRP
Image: หลังการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารด้วย CFRP โดยทีมช่าง บ.สมาร์ท แอนด์ ไบรท์
Image: ก่อนการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารด้วย CFRP
Image: หลังการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารด้วย CFRP โดยทีมช่าง บ.สมาร์ท แอนด์ ไบรท์
Image: หลังการติดตั้ง CFRP โดยทีมช่างเชี่ยวชาญ
Image: การติดตั้ง CFRP โดยช่างเชี่ยวชาญ
Image: ก่อนและหลังการเสริมกำลังโครงสร้างอาคารด้วย CFRP
#เสริมกำลังเสาด้วยCFRP
#แก้ไขดสาใส่เหล็กเสริมผิดขนาดด้วยCFRP
#ผู้เชี่ยวชาญด้านการเสริมกำลังคาร์บอนไฟเบอร์
#SmartAndBright
#CFRPStrengtheningจ
#CFRP
#CarbonFiberStrengthening
#คาร์บอนไฟเบอร์
ติดต่อเรา บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด รับทํากันซึมดาดฟ้า
ซ่อมรอยร้าวคอนกรีต
Facebook : smartandbright
Phone : 02-736-9555
Line : @smartandbright