บริการ CFRP​​ เสริมกำลังโครงสร้างให้มั่นคงแข็งแรง - ด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์

02 736 9555 (Auto 10 Lines)​
SMART & BRIGHT | การเกร้าท์เพื่อซ่อมรอยร้าวคอนกรีตโครงสร้างคอนกรีต​​

การเกร้าท์เพื่อซ่อมรอยร้าวคอนกรีตโครงสร้างคอนกรีต

ปูนทรายชนิดไม่หดตัว หรือ ปูนเกร้าท์ (Cement Grout) คุณสมบัติหลักๆของ วัสดุชนิดนี้คือ เป็นปูนทรายผสมเสร็จ มีกำลังรับแรงอัดสูงภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่หดตัวเมื่อแข็งตัว (Non-Shrink) มีความเหลวทำให้ทำงานง่าย ตัววัสดุประกอบด้วย ซีเมนต์ ทรายคัดขนาด และวัสดุผสมเพิ่ม ไม่ผสมผงโลหะ (Non-Ferrous) เรามักจะใช้ในงานเช่น การซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต การเทฐานรากของคอนกรีต การฝังหรือยึดชิ้นส่วนต่างๆ

ในการเทคอนกรีต หากควบคุมไม่ดีอาจเกิดโพรง หรือน้ำปูนไหลออกจากแบบ ทำให้เกิดรูพรุน คล้าย "รังผึ้ง" ขึ้นได้ ซึ่งทำให้ความแข็งแรงของโครงสร้างลดลงจนอาจส่งผลเสียหายต่อโครงสร้างอาคารได้ การแก้ไขซ่อมแซมทำได้โดยการเทปูนชนิดไม่หดตัว (Non-Shrink Grout) เพื่อเสริมรูโพรงขนาดใหญ่ให้เต็ม ในกรณีที่รูโพรงมีขนาดเล็กจนน้ำปูนซีเมนต์ Non-Shrink Grout ไม่สามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปถึง อาจต้องใช้วิธีการซ่อมแซมด้วยวิธีฉีดอีพ็อกซี่ หรือ ซีเมนต์ชนิดละเอียดพิเศษเพื่อให้แทรกซึมไปอุดรูพรุนให้ทั่วโครงสร้าง คอนกรีตอาจแตกร้าวเนื่องจากสาเหตุการหดตัวหรือโครงสร้างไม่สามารถรับแรงได้ ในกรณีที่ปัญหาเกิดจากโครงสร้างจะต้องมีการแก้ไขปัญหาก่อน จึงทำการซ่อมแซมรอยร้าว รอยร้าวในเนื้อคอนกรีตซ่อมด้วยวิธีฉีดประสานรอยร้าวด้วยอีพ็อกซี่ ซึ่งหลังจากซ่อมแซมด้วยวิธีนี้แล้ว คอนกรีตที่แตกร้าวจะประสานเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความแข็งแรงเสมือนคอนกรีตเดิม ไม่มีรอยร้าว

1. SMARTGROUT SG (Non Shrink Grouting)

SMARTGROUT SG เป็นซีเมนต์เกร้าท์พิเศษชนิดไม่หดตัว มีกำลังรับแรงอัดสูง ไม่มีส่วนผสมของผงโลหะ และไม่มีส่วนผสมของแคลเซียมคลอไรด์ ด้วยสารประกอบดังกล่าวนี้ทําให้ SMARTGROUT SG เป็นซีเมนต์เกร้าท์ที่ให้กำลังสูงทั้งระยะแรก และระยะสุดท้ายโดยไม่หดตัว ใช้งานง่าย เพียงแต่เติมน้ำผสมซีเมนต์เกร้าท์ และเพิ่มน้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อช่วยในการเทตามอัตราส่วนเท่านั้น

คุณสมบัติเด่นของ SMARTGROUT SG (Non-Shrink Grout)

• มึความเหลว และไหลตัวดี ทำให้เทได้ง่าย
• รับกำลังแรงอัด แรงดัด และการยึดติดสูง
• ปราศจากคลอรีนที่มีผลต่อการกัดกร่อน
• มีการคงสภาพรูปทรงที่ดี
• ไม่เกิดการเยิ้ม ไม่เป็นพิษ และไม่ก่อให้เกิดสนิม

ตำแหน่งการใช้งาน ของ SMARTGROUT SG (Non-Shrink Grout)

• เทยึดน๊อตเหล็ก
• รองรับคานสะพาน
• เทฐานแบบขนาดใหญ่
• ฐานเครื่องจักร
• เสาตอม่อ
• ฐานรองรับทางรถไฟ
• งานเทอุดรูเพื่อเสริมความแข็งแรง
• งานซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตต่างๆ

2.  SMARTGROUT PT (Non-Shrink Grout)

SMARTGROUT PT เป็นซีเมนต์เกร้าท์ชนิดฉาบซ่อมและเกร้าท์คอนกรีตชนิดไม่หดตัว มีกำลังรับแรงอัดสูง ไม่มีส่วนผสมของผงโลหะและไม่มีส่วนผสมของแคลเซียมคลอไรด์ ด้วยสารประกอบดังกล่าวนี้ทําให้ SMARTGROUT PT เป็นซีเมนต์เกร้าท์ที่ให้กำลังสูงทั้งระยะแรก และระยะสุดท้าย ไม่หดตัว ใช้งานง่าย เพียงแต่เติมน้ำเท่านั้น และเพิ่มน้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อช่วยในการฉาบตามอัตราส่วน

คุณสมบัติเด่นของ PATCHING SMARTGROUT PT (Non-Shrink Grout)
• รับกําลังแรงอัด แรงดัดและการยึดติดที่สูง
• ปราศจากคลอรีนที่มีผลต่อการกัดกร่อน
• มีการคงสภาพรูปทรงที่ดี
• ไม่เกิดการเยิ้ม ไม่เป็นพิษ ไม่ก่อให้เกิดสนิม

บริเวณที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน PATCHING SMARTGROUT PT (Non-Shrink Grout)
• งานเกร้าท์ซ่อมอาคารต่างๆ เช่น โรงงานคลังสินค้า, โรงแรม, โรงเรียน
• งานเกร้าท์ซ่อมสะพานคอนกรีต
• งานเกร้าท์ซ่อมโครงสร้างทางทะเลประเภทต่างๆ เช่น Jetty
• งานเกร้าท์ซ่อมแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป

Others มี 4 บริการดังนี้

Steel Protection

1. เคลือบกันสนิมเหล็กโครงสร้าง (Steel Structure Painting) เคลือบกันสนิม คือ

การเคลือบเหล็กที่อยู่ภายนอก เช่น แท็งก์ หรือภายใน เช่น เหล็กโครงสร้าง เพื่อป้องกันสนิมและการกัดกร่อน โดยธรรมชาติของเหล็กโครงสร้าง (Steel Structure) และเหล็กแผ่น (Steel plate) นั้นมักเกิดสนิมจากสภาวะแวดล้อม ความชื้น และ คลอไรด์ต่างๆ ได้โดยง่ายการยืดอายุของโครงสร้างเหล็ก (Steel Structure) นั้นสามารถทำได้โดย

การเคลือบกันสนิม โดยปกตินั้น ไม่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน แต่จะมีความยุ่งยากต่อเมื่อ ทาสีทับหน้าที่มีสารประกอบใกล้เคียงกัน หรือการผสมสีที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนและสัดส่วนที่กำหนด โดยลูกค้าที่สั่งซื้อสีกันสนิมมา เพื่อผสมเอง ควรผสมตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่ควรปรับเปลี่ยนหรือนำสีต่างยี่ห้อมาผสมกัน เพราะจะทำให้สัดส่วนผิดเพี้ยน ส่งผลให้สีเสีย หรือด้อยคุณภาพลง กันสนิมได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากผสมสัดส่วนได้อย่างถูกต้อง และดำเนินงานอย่างละเอียดรอบครอบตามขั้นตอนที่กล่าวข้างต้น จะทำให้สีกันสนิมมีความคงทนไม่ต้องทำสีทับหน้าใหม่บ่อยๆ แม้แต่การเคลือบกันสนิม เสาเหล็กสูงๆ สิ่งก่อสร้างใกล้ทะเล งานโครงสร้างเหล็กประเภทภายนอกแท็งก์ต่างๆ ก็สามารถยืดอายุการใช้งานได้อย่างยาวนาน

การเคลือบกันสนิมเหล็กเสริม

คือการทาสีเคลือบเหล็กเสริมเป็นลักษณะของชั้นฟิล์ม โดยสีกันสนิมจะทำหน้าที่ปกป้องผิวของเหล็กโครงสร้างไม่ให้สัมผัสกับความชื้นและเคมีโดยตรง  

การเคลือบกันสนิมพื้นผิวประเภทโลหะ

เช่น ผิวของโลหะรีด (Rolled Steel) โดยปกติจะถูกเคลือบไว้ด้วยผงของออกไซด์ขนาดใหญ่กระจายทั่วไป ซึ่งพื้นผิวส่วนใหญ่จะพบรอยแตก หรือรอยหลุมของส่วนที่เคลือบไว้ เมื่อมีน้ำหรือออกซิเจนอยู่บนพื้นผิวโลหะ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเหล็ก และเกิดสนิมเหล็กในเวลาต่อมา

วัสดุที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนของการ "เคลือบกันสนิม"

1. สีสำหรับงานกันสนิม Smartprime EP ZINC (สีอีพ็อกซี่ซิงค์สำหรับทารองพื้น)          
2. สีสำหรับงานกันสนิม Smartcoat EP 300 (สีอีพ็อกซี่กันสนิม)          
3. สีสำหรับงานกันสนิม Smartcoat PU 301 (สีพียูป้องกันยูวี)

2. เคลือบแท็งก์กันสนิม (Internal Tank Lining)การเคลือบแท็งก์กันสนิม คือ

การเคลือบแท็งก์เพื่อป้องกันการเกิดสนิมจนทำให้เกิดปัญหาการกัดกร่อนและแท็งก์รั่วซึม โดยสาเหตุของการเกิดสนิมที่เกิดขึ้นกับแท็งก์เหล็กขนาดใหญ่มักเกิดจาก      
1. สนิมสด (Fresh Rust)      
2. เกลือคลอไรด์ (Chloride Attack)      
3. ปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical Attack)      
4. อุณหภูมิในที่ปฎิบัติงานสูง (High Operating Temperature)      
5. ความดันสูง และวรจรอุณหภูมิ (Aggressive Pressure & Temperature cyclic)      
6. การระเบิด / การบีดอัดอย่างรวดเร็ว (Explosive / Rapid Decompression)      
7. เกิดความเย็นที่ผนังและเกิดการปูดบวม (Cold Wall Blistering)      
8. การกำจัดทรายโดยการฉีดทำความสะอาด (Jet Wash Sand Removal System)

แท็งก์เหล็กส่วนใหญ่ต้องมีเคลือบภายในแท็งก์เหล็กเพื่อป้องกันสนิม ป้องกันสาร และ กระบวนการต่างๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้แท็งก์ถูกกัดกร่อนจนแท็งก์ ไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจัยในการเคลือบแท็งก์กันสนิมที่เหมาะสม เพื่อทำให้ได้แท็งก์เหล็กมีประสิทธิภาพสูงสุด มีอยู่ด้วยกัน 5 ข้อ คือ

1. ชนิดของแท็งก์ การเลือกชนิดของวัสดุที่ใช้เคลือบให้เหมาะสมกับชนิดของแท็งก์ ผลิตภัณฑ์ที่ใส่อยู่ภายในแท็งก์ และความหนาที่ใช้ในการเคลือบ  
2. ลักษณะพื้นผิวของแท็งก์ เพื่อใช้ในการเลือกชนิดของการเตรียมผิวและมาตรฐานการเตรียมผิว ตลอดจนความหยาบของผิวที่ต้องการให้วัสดุเคลือบยึดผิว  
3. อุปกรณ์ในการตรวจสอบคุณภาพการเคลือบ และความเหมาะสมของแท็งก์ ควรเลือกชนิดของอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบในทุกๆ ขั้นตอน เช่น ตรวจสอบความหยาบ, ความสะอาด, อุณหภูมิ, ความชื้นสัมพัทธ์, เกลือคลอไรด์, ตามด, ความหนาของชั้นเคลือบ เป็นต้น
4. ทักษะและความชำนาญของผู้ดำเนินงานกันสนิม ทีมงานที่เป็นผู้ติดตั้งงานเคลือบมีส่วนสำคัญในงานเคลือบแท็งก์กันสนิม ความชำนาญจะเป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหาที่อาจพบในขั้นตอนการเคลือบจึงมีส่วนสำคัญในการเคลือบแท็งก์กันสนิมที่มีคุณภาพ
5. การควบคุมงานจากผู้ควบคุมงานที่มีประสบการณ์ นอกจากการดำเนินงาน จะเป็นส่วนสำคัญในการเคลือบแท็งก์กันสนิม การควบคุมและตรวจสอบผลการดำเนินงานที่ละเอียด และแม่นยำจะทำให้แท็งก์ที่ทำการเคลือบเพื่อกันสนิม มีความสมบูรณ์

Tank Lining

คุณสมบัติเด่นของการ "เคลือบแท็งก์" แต่ละชนิดแนะนำ โดยบริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด

1. เคลือบแท็งก์ด้วยอีพ็อกซี่เนื้อสาร 100 % (Tank Lining: 100% Solid Epoxy Coating)

เหมาะสำหรับเคลือบแท็งก์น้ำเสีย ผิวเรียบสวยงาม เป็นการเคลือบแท็งก์เพื่อปกป้องการสึกกร่อนด้วยอีพ็อกซี่ที่ประกอบด้วยส่วนผสม 2 ส่วน และปราศจากสารทำละลาย สาร 100% Solid Epoxy coating มีความสามารถในการทนต่อกรดและด่าง มีความต้านทานต่อการขูดขีด และทนต่อการกัดกร่อน โดยปกติการเคลือบอีพ็อกซี่ (Epoxy Coating) สามารถใช้งานได้ทั้งงานเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy Flooring) เคลือบผนัง และงานเคลือบแท็งก์ (Tanking Lining: 100% Solid Epoxy Coating ) งานเคลือบแท็งก์น้ำเสีย หลังจากติดตั้งเสร็จพื้นผิวจะมีความเรียบสวย เงางามและสามารถทำพื้นผิวสำหรับกันลื่นตามลักษณะการใช้งาน

2. เคลือบแท็งก์ด้วยอีพ็อกซี่ทนเคมีสูง (Tank Lining: High Chemical Resistance Epoxy Coating)

เหมาะสำหรับเคลือบแท็งก์ที่พื้นผิวสัมผัสกับสารเคมี เคลือบแท็งก์เก็บสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นการเคลือบแท็งก์คอนกรีตหรือพื้นผิวคอนกรีตเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานด้วยสารอีพ็อกซี่พิเศษที่มีความสามารถในการทนสารเคมีสูง (High Chemical Resistance Epoxy Coating) เป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการกัดกร่อนจาก กรด ด่าง ต่างๆ ก่อนทำการเคลือบแท็งก์ด้วยอีพ็อกซี่ทนเคมีสูง การทราบถึงลักษณะการใช้งานและสารที่บรรจุลงในแท็งก์ จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกลักษณะเนื้อสารในการเคลือบแท็งก์ได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ การทราบถึงลักษณะเนื้อผิวหรือวัสดุของแท็งก์เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เช่น แท็งก์ที่ต้องการเคลือบอีพ็อกซี่ทนเคมีสูง เป็นแท็งก์คอนกรีต หรือแท็งก์เหล็ก ก็มีส่วนสำคัญในการเลือกใช้เนื้อสารและขั้นตอนการทำงาน เพราะการเคลือบแท็งก์ด้วยอีพ็อกซี่ทนเคมีสูงนั้น สามารถเคลือบแท็งก์ได้ทั้งสองแบบ แต่จะมีวิธีแตกต่างในขั้นตอนการเตรียมผิว การเคลือบวัสดุรองพื้นตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพการเคลือบ

อีพ็อกซี่โนโวแลค (Epoxy Novolac) คือ อีพ็อกซี่ชนิดปราศจากตัวทำละลาย ประเภท 2 ส่วนผสม เป็นวัสดุเคลือบผิว ที่ทนทานต่อกรด ด่าง ต้านทานอุณหภูมิได้สูง แนะนำการใช้คือ ทาเคลือบ 2 ชั้น ที่ 0.35 - 0.50 กิโลกรัม / ตารางเมตร / ชั้น มักใช้ร่วมกับวัสดุเสริมแรงประเภทใยแก้วเพื่อป้องกันการแตกร้าวสำหรับการเคลือบแท็งก์คอนกรีตหรือพื้นคอนกรีต (โดยใช้ร่วมกับ Epoxy Moisture Barrier) ที่ต้องการป้องกันเคมีเนื่องจากมีความสามารถในการทนเคมีได้สูง

คุณสมบัติเด่นของการเคลือบแท็งก์ด้วยอีพ็อกซี่ทนเคมีสูง (Tank Lining : High Chemical Resistance Epoxy Coating)

- ทนต่อสารเคมีได้ดีเยี่ยม                  
- สูตรไม่มีกลิ่นฉุน                
- ต้านทานรอยขูดขีดได้ดี                
- ยึดเกาะได้ดีกับเหล็กและคอนกรีต          
- เป็นอีพ็อกซี่ปราศจากตัวทำละลาย (100% Solid content) บริเวณที่สามารถใช้อีพ็อกซี่โนโวแลค (Epoxy Novolac) ในงานเคลือบแท็งก์ด้วยอีพ็อกซี่ทนเคมีสูง                
- Wastewater treatment tank            
- Water tank                  
- RO. tank                
- Chemical plant                
- Chemical secondary containment      
- Chemical storage tank                
- พื้นผิวที่สัมผัสกับสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น ถังหรือแท็งก์เก็บสารเคมี ท่อเคมีและพื้น

3. เคลือบแท็งก์ด้วยโคลทาร์ อีพ็อกซี่ (Tank Lining: Coal tar Epoxy Coating) เหมาะ สำหรับเคลือบแท็งก์น้ำเสีย หรือบ่อบำบัด ทนต่อการขูดขีดโคลทาร์อีพ็อกซี่ (Coal Tar Epoxy) เป็นวัสดุเคลือบแท็งก์ผิวคอนกรีตและเหล็ก ที่มาจากน้ำมันทาร์ (Coal Tar) ผสมรวมกับอีพ็อกซี่ (Epoxy) ให้มีคุณสมบัติในการทนสารเคมี เป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการเคลือบแท็งก์เก็บน้ำเสียหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยทั่วไปมักนำ โคลทาร์อีพ็อกซี่ ชนิดมีตัวทำละลาย (Solvent type) มาเคลือบ 3 ชั้น เพื่อปกป้องรักษาผิวแท็งก์

คุณสมบัติเด่นของการเคลือบแท็งก์ด้วยโคลทาร์อีพ็อกซี่ (Tank Lining : Coal Tar Epoxy coating)

• ปริมาณของเนื้อวัสดุ Epoxy ปริมาณมาก (High Solid content) เพิ่มการทนทานต่อสารเคมี
• ความหนืดต่ำ
• ป้องกันการกัดกร่อนผิวคอนกรีต
• สามารถยึดติดได้กับคอนกรีตที่ชื้น
• ทนต่อการขูดขีด
การเคลือบแท็งก์ด้วยโคลทาร์อีพ็อกซี่นั้น สามารถทำให้แท็งก์มีความสามารถในการทน กรด-ด่าง และสารเคมีได้ แต่ไม่สามารถซ่อมแซมการรั่วซึมของแท็งก์ได้ จึงไม่เหมาะกับแท็งก์ที่มีรอยแตกร้าวรั่วซึม

บริเวณที่สามารถใช้โคลทาร์อีพ็อกซี่ (Coal Tar Epoxy)

• ถัง
• บ่อบำบัดน้ำเสียหรือทางระบายน้ำทิ้ง
• งานเคลือบป้องกันผิวงานอุตสาหกรรม
• โครงสร้างของเรือหรือท่าเรือ    
• ท่อส่งน้ำจากเขื่อน
• ปกป้องพื้นผิวโครงสร้างที่ใช้งานหนัก
• คอนกรีตและโครงสร้างเหล็ก

4. เคลือบแท็งก์ด้วยกันซึมซีเมนต์เบส (Tank Lining: Cement Base Waterproof)

เหมาะสำหรับเคลือบแท็งก์คอนกรีต ห้องใต้ดิน บ่อปลา บ่อน้ำดิบ รักษาการรั่วซึม ราคาประหยัด การเคลือบแท็งก์ด้วยซีเมนต์เบส (Cement Base) รหัสสินค้า Smartseal ผลิตมาจากผง Modified cement บดละเอียด กับ Synthetic Rubber Polymer ผสมรวมกัน เพื่อใช้ในการรักษาสภาพผิวคอนกรีต ปิดกั้นการรั่วซึมของแท็งก์ ไม่ว่าจะเป็น แท็งก์เก็บน้ำคอนกรีต บ่อคอนกรีต หรือพื้นและผนังของห้องน้ำ

คุณสมบัติเด่นในการเคลือบแท็งก์ด้วยกันซีมซีเมนต์เบส (Tank Lining : Cement Base Waterproof)

1. เพื่อรักษาสภาพผิวคอนกรีตให้คงอยู่ยาวนาน
2. ป้องกันการรั่วซึมของคอนกรีตได้ดี
3. ทำให้ทำความสะอาดแท็งก์คอนกรีตได้ง่ายขึ้น
4. ราคาประหยัด
5. ทำงานง่ายไม่ซับซ้อน

บริเวณที่เหมาะสมในการ "เคลือบแท็งก์ด้วยกันซึมซีเมนต์เบส" (Tank Lining: Cement Base Waterproof)

• Water tank
• RO. tank
• Water sump
• Concrete foundation
• Cooling tank

บริเวณอื่นที่สามารถใช้กันซึมซีเมนต์เบส (Cement Base Waterproof) ในงานเคลือบเพื่อป้องกันการรั่วซึม

1. เคลือบซีเมนต์เบสก่อนการปูกระเบื้องทางเดินระเบียงและพื้นผนังห้องน้ำ
2 .เคลือบในบ่อปลา บ่อเก็บน้ำดี บ่อน้ำRO บ่อน้ำดิบ
3 .เคลือบใน Water sump
4 .เคลือบป้องกันการรั่วซึมบริเวณ Concrete foundation
5. เคลือบภายนอกแท็งก์คอนกรีตและผนังด้านนอกของห้องใต้ดิน

ถึงแม้ว่ากันซึมซีเมนต์เบส (Cement Base Waterproof) จะสามารถนำมาใช้ในการเคลือบแท็งก์ และสามารถนำมาปรับใช้กับงานเคลือบอื่นๆ เพื่อป้องกันรั่วซึมต่างๆ แต่กันซึมซีเมนต์เบส ไม่ควรนำไปใช้ป้องกันการรั่วซึมของดาดฟ้าคอนกรีต

5. เคลือบแท็งก์ด้วยกันซึมคริสตัลไลซ์ (Tank Lining: Crystalize Waterproof)

เหมาะสำหรับเคลือบแท็งก์น้ำดี ผนังกันดิน เป็นการเคลือบแท็งก์ด้วยวัสดุกันซึมที่มี Silicate ชนิดพิเศษเป็นส่วนผสม มีคุณสมบัติในการแทรกซึมผิวคอนกรีต เมื่อกันซึมแบบผลึกแทรกซึมเข้าสู่ผิวคอนกรีต จะทำปฏิกิริยากับ Lime ในคอนกรีต เกิดเป็นผลึกแก้วในเนื้อคอนกรีต กันซึมแบบผลึกจะช่วยอุดรูพรุน และรอยแตกเล็กๆ (Hair line crack) ของคอนกรีต ให้เกิดความทึบในเนื้อคอนกรีต เพิ่มเนือคอนกรีตที่สึกกร่อนให้แข็งแรงและหนาแน่นขึ้น

กันซึมแบบผลึก สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. กับซึมแบบผลึกชนิดพ่นหรือทา มีลักษณะเป็นน้ำสีใส
2. กับซึมแบบผลึกชนิดผง มีลักษณะเหมือนผงซีเมนต์ ใช้ฉาบในบ่อน้ำดีทั้งภายนอกและภายในเพื่อป้องกันการรั่วซึม

คุณสมบัติเด่นของ "การเคลือบแท็งก์ด้วยกันซึมแบบผลึก" (Tank Lining : Crystalize Waterproof)

- ป้องกันการซึมของน้ำได้ดี
- สามารถแทรกซึมเข้าได้ลึกเมื่อคอนกรีตมีความชื้น
- เมื่อแห้งตัวแล้วโครงสร้างผลึก จะช่วยเสริมโครงสร้างคอนกรีตให้แข็งแรง
- สามารถทนแรงดันน้ำได้ดี

ลักษณะการใช้งานของ "การเคลือบแท็งก์ด้วยกันซึมแบบผลึก" (Tank Lining : Crystalize Waterproof)

- ใช้ทาอุดรอยร้าวขนาดเล็ก เพื่อป้องกันการรั่วซึม
- ใช้ทาพื้นที่ใช้งาน บ่อเก็บน้ำคอนกรีต ถังเก็บน้ำใต้ดิน ผนังกันดิน พื้นห้องน้ำ ก่อนปูกระเบื้องทับ

กันซึมแบบผลึก (Crystalize Waterproof) ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อเป็นกันซึมการรั่วซึมบนดาดฟ้าคอนกรีต เนื้อคอนกรีตที่เกิดรอยร้าว กันซึมแบบผลึกจะไม่สามารถ Cover รอยร้าวที่มีความกว้าง ทำให้เกิดการรั่วซึมบริเวณรอยร้าว แต่กันซึมแบบผลึก (Crystalize Waterproof) เหมาะสำหรับแท็งก์น้ำดี ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิต่ำ และ คอนกรีตไม่แตกร้าวโดยง่าย

6. เคลือบแท็งก์ด้วยไฟเบอร์กลาส (Tank Lining: FRP.)

เหมาะสำหรับเคลือบแท็งก์น้ำดี หรือต้องการขึ้นรูปแท็งก์ตามสั่ง เคลือบแท็งก์เก็บสาร เคลือบบ่อบำบัดน้ำเสีย การเคลือบ Fiberglass สามารถนำมาใช้ในการเคลือบแท็งก์ (Tank Lining) โดยเฉพาะ การเคลือบแท็งก์น้ำ RO หรือการเคลือบบ่อคอนกรีตเพื่อใช้งานในลักษณะต่างๆ เช่นการเคลือบบ่อบำบัดน้ำเสีย (Wastewater Treatment Tank)

คุณสมบัติเด่นในการ "เคลือบแท็งก์ด้วยไฟเบอร์กลาส" (Tank Lining : FRP.)

1. ป้องกันการรั่วซึม
2. ทนทานต่อสารเคมีหลากหลายชนิด
3. อายุการใช้งานยาวนาน
4. ทนทานต่ออุณหภูมิได้สูงถึง 100 องศาเซลเซียส
5. ติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย
การเคลือบ Fiberglass นั้น สามารถปรับเปลี่ยนวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน จนมีการใช้งาน ที่ทนทาน ในวัสดุที่ต้องเจอกับสารเคมี

บริเวณที่เหมาะสมในการเคลือบ Fiberglass

- Wastewater treatment tank
- Raw water tank
- Secondary containment tank
- Dipping tank

7. เคลือบแท็งก์ด้วยโพลียูเรียบริสุทธิ์ (Tank Lining: Pure Polyurea)

เหมาะสำหรับเคลือบภายในและภายนอกแท็งก์ ทนต่อการฉีกขาดของรอยแตกการเคลือบแท็งก์ด้วย Pure Ployurea วัสดุกันซึมที่ต่อต้านการซึมผ่านของน้ำที่ดีที่สุดในกันซึมชนิด Elongation Waterproof สามารถแช่น้ำได้ การเคลือบแท็งก์ด้วย Pure Polyurea เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การเคลือบภายในแท็งก์น้ำดี, การเคลือบแท็งก์น้ำเสีย และแท็งก์น้ำ RO. Deminization Water Tank

คุณสมบัติเด่นในการ "เคลือบแท็งก์คอนกรีตด้วยเพียวโพลียูเรีย" (Pure Polyurea Concrete Tank Lining)

1. ต้านทานแรงดึงเมื่อคอนกรีตแตกร้าว (Bridge Crack)
2. ป้องกันการรั่วซึมอย่างดีเยี่ยม
3. เพิ่มความสามารถของ Concrete Tank ในการรับ Erosion และ Gravitation
4. ปกป้องผิวคอนกรีตจากเคมีอ่อนๆ ของน้ำเสียทำให้คอนกรีตไม่สัมผัสกับน้ำเสียโดยตรงอันจะมีผลให้เกิดการกัดกร่อนที่คอนกรีต
5. ยืดอายุของเหล็กเสริมภายในคอนกรีตให้ไม่เป็นสนิม

คุณสมบัติเด่นในการ "เคลือบแท็งก์เหล็กด้วยเพียวโพลียูเรีย" (Pure Polyurea Steel Tank Lining)

1. ป้องกันสนิม (Corrosion Protection)
2. ป้องกันการรั่วซึม (Leak Protection)
3. ทำหน้าที่กันซึม (Waterproofing)
4. ยืดอายุของแท็งก์เหล็กจากการเป็นสนิม

ทาสีอาคาร รับเหมาทาสี (Building Painting)

Epoxy นิยมใช้ในการ เคลือบพื้น โรงงานอุตสาหกรรม พื้นคลังสินค้า พื้นโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่แล้ว อีพ็อกซี่ มีส่วนผสมทางเคมีหลักอยู่ 2 ส่วน ประกอบด้วยกัน

การทาสีอาคาร สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

1. ทาสีอาคารใหม่ (New Building Painting) ทาสีอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาคารดูสวยงามตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ มีขั้นตอนดังนี้คือ

1. ทำความสะอาดผิวผนังอาคาร                        
2. ทาสีของพื้นปูนใหม่เพื่อป้องกันด่างจากคอนกรีต                        
3. กรีดเก็บโป๊วรอยแตกร้าวกะเทาะด้วยวัสดุประเภท Acrylic putty ทำการขัดให้เนียนเรียบ                        
4. ทาสีทับหน้าครั้งที่ 1                        
5. ทาสีทับหน้าครั้งที่ 2

2. ทาสีอาคารเก่า (Old Building Painting)ทาสีอาคารเก่า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาคารที่ดูเก่าทรุดโทรม กลับมาดูเหมือนใหม่อีกครั้ง ทำให้อาคารดูมีมูลค่าสูงขึ้น มีขั้นตอนดังนี้

1. ทำความสะอาดขัดสีเก่าที่หลุดล่อนออก                        
2. ทาสีรองพื้นปูนเก่า เพื่อให้สีเก่ากับสีใหม่สามารถยึดติดกันได้โดยง่าย                        
3. กรีดเก็บโป๊วรอยแตกร้าวกะเทาะด้วยวัสดุประเภท Acrylic putty ทำการขัดให้เนียนเรียบ                        
4. ทาสีทับหน้าครั้งที่ 1                        
5. ทาสีทับหน้าครั้งที่ 2

เพื่อให้อาคารคงความสวยงามและใหม่อยู่เสมอควรทาสีอาคาร ทุก ๆ 5 ปี และควรเลือกชนิดและคุณภาพสีให้เหมาะสมกับงบประมาณที่มี ก่อนทาสีควรออกแบบลวดลายและสีที่ทาบนอาคารก่อนและทำแบบจำลองขึ้นมาเพื่อดูความสวยงามและป้องกันความผิดพลาด จากนั้นควรลองทาสีทับหน้าจริงลงบนผนัง เพื่อให้แน่ใจได้ว่าสีที่เราเลือกจากแคตตาล็อคกับสีทับหน้าจริง เมื่อทาแล้วสีเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

SMART & BRIGHT | บริการรับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรม ซ่อมโครงสร้างอาคาร เสริมกำลังโครงสร้าง CFRP​​
บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด
789 ซอยลาดพร้าว 107 แยก 33
ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
SMART AND BRIGHT CO., LTD.
​789 SOI LADPRAO 107 YAEK 33,
LADPRAO ROAD, KHLONGCHAN, BANGKAPI, BANGKOK 10240 THAILAND
ติดต่อเรา
Tel : 02-736-9555
Hotline : 088-791-4494
ID line : sabhotline
Fax : 02-736-9648
EMAIL : [email protected]
แคทตาล็อค
Innovative Coating Products
The Specialist In Repairing
Strengthening And Coating
All rights reserved @2023 Smart & Bright Co., Ltd.