บริการ CFRP​​ เสริมกำลังโครงสร้างให้มั่นคงแข็งแรง - ด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์

02 736 9555 (Auto 10 Lines)​

ซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาสะพานข้ามคลอง

ซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาสะพานข้ามคลอง

เมื่อมีการพบเห็นคอนกรีตที่มีสภาพเสียหาย เราต้องมีการประเมินสภาพคอนกรีตที่ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพที่เสียหาย  ซึ่งถือเป็นความรู้พื้นฐานก่อนทำการซ่อมแซมและนำไปการแก้ไขที่ถูกวิธี เพื่อให้คอนกรีตยังคงสามารถกลับมาใช้งานต่อได้อย่างยาวนาน โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ตรวจสอบต้องประเมินหาสาเหตุที่แท้จริงของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตที่พบ 

ขั้นตอนแรกในการซ่อมแซมนั้น เริ่มจากการประเมินโครงสร้างสภาพในปัจจุบัน โดยทบทวนข้อมูลเอกสารการออกแบบและการก่อสร้าง การวิเคราะห์ทางกายภาพด้วยสายตา การวิเคราะห์โครงสร้างที่เสียหาย รายงานการซ่อมแซมที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ผลของการซ่อมแซมในอดีต ผลการวิเคราะห์จากการนำตัวอย่างเข้าทดสอบในห้องปฎิบัติการทางเคมี  รวมถึง การวิเคราะห์และทำความเข้าใจในสภาพของโครสร้างคอนกรีตภายในเนื้อคอนเกรีจและเหล็กเสริม ที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย

เมื่อประเมินสาเหตุของปัญหาของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการออกแบบ, การเลือกใช้วัสดุและวิธีในการซ่อมแซมที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งการซ่อมแซมสามารถทำได้ในหลายวิธีด้วยกัน

ในการออกแบบเพื่อซ่อมแซมโครงสร้างเหล็กเสริมคอนกรีตทุกครั้ง ควรพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลทำให้คอนกรีตมีความคงทน ซ่อมแซมถึงต้นตอสาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้นและรอยแตกร้าวที่พบเห็น อีกทั้งยังต้องประเมินถึงข้อจำกัด ระยะเวลา งบประมาณ และการเลือกใช้วัสดุที่ไม่ทำลายสุขภาพของคนงานและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญ ของวัตถุประสงค์หลักในการซ่อมแซม ว่าต้องการซ่อมแซมเพื่อใช้งานต่อชั่วคราวหรือต้องการซ่อมแซมถาวร เพราะจะมีผลโดยตรงกับค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งการเลือกใช้ทีมผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์และมีศักยภาพในการทำงานก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ไม่ควรละเลย 

Project Reference : ซ่อมแซมเสาสะพานข้ามคลองโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังจากเข้าสำรวจพบรอยร้าวบริเวณเสาคอนกรีตควรเสริมกำลังโครงสร้าง ในขณะที่เหล็กเสริมยังคงมีสภาที่ดีอยู่  จึงออกแบบให้ซ่อมแซมโดยการใช้วัสดุซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว (Non Shrink Cement for Grouting : SmartGrout SG)  

แนวทางแก้ไข 
1. กำหนดขอบเขตในการซ่อม โดยใช้เครื่องตัดคอนกรีตตัด และสกัดผิวคอนกรีตตามแนวตั้งหรือแนวนอน จนถึงหลังเหล็ก ให้มีระยะห่างจากรอยร้าวประมาณ 10-20cm ตามความเหมาะสม ความลึกประมาณ 3cm เพื่อป้องกันการแตกกร้าวของคอนกรีตในส่วนที่ไม่มีความเสียหายระหว่างการซ่อมแซม
2.การสกัดคอนกรีต ต้องสกัดคอนกรีตที่เสียหายออกให้หมด จนถึงเนื้อคอนกรีตที่แข็งแรง ซึ่งอาจต้องสกัดถึงแนวเหล็กเสริมคอนกรีต 
3. ทำความสะอาดเหล็กเสริม เพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่ติดกับเหล็กเสริมและสามารถตรวจสอบสภาพความเสียหายของเหล็กเสริม เช่น คราบน้ำมัน สนิม จากนั้นจึงจะเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมได้ เช่น การขัดโดยใช้แปรงลวดขัดเหล็ก หินเจียร หรือ เครื่องขัด เป็นต้น
4. หลังจากที่ขัดสนิมออกจากเหล็กเสริมแล้ว หากพบว่าหน้าตัดเหล็กเสนิมลดลงมากกว่า 10% ควรเปลี่ยนเหล็กเสริมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง หรือ ตามดุลยพินิจของวิศวกร
เมื่อทราบสาเหตุของรอยร้าวที่เกิดขึ้นแล้วนั้น จะพบว่าลักษณะรอยร้าวอาคารที่เกิดขึ้น จะมีทั้งแบบที่เป็นอันตรายที่ต้องซ่อมแซมเร่งด่วน เนื่องจากกระทบกับโครงสร้างของอาคาร กับ รอยร้าวที่ไม่กระทบกับโครงสร้างของอาคาร 

ในการเปลี่ยนเหล็กเสริม ได้แก่ การตัดเหล็กเสริมส่วนที่เสียหายออกแล้วทาบต่อด้วยเหล็กใหม่โดยให้มีระยะทาบเป็นไปตามตารางที่ 1 หรือ คำนวณระยะทาบตามข้อกำหนดใน วสท 1007-34  หรือ วสท 1008-38 หรือ ACI 318 แต่หากเป็นการทาบด้วยการเชื่อมเหล็กให้อ้างอิงตามตารางที่ 2 หรือจากข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน วสท 1007-34 หรือ วสท 1008-38 หรือ ACI 318

ตารางที่ 1 ระยะทาบเหล็กเสริมโดยประมาณ

ตารางที่ 2 ระยะทาบเหล็กเสริมด้วยวิธีการเชื่อมโดยใช้ลวดเชื่อม E70

5.ทาเคลือบเหล็กเสริมด้วยวัสดุ Epoxy ที่มีส่วนผสมของสังกะสี (SmartPrime EP Zinc) เป็นตัวรองพื้นเพื่อป้องกันสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต
6.ทาน้ำยาประสานคอนกรีต Bonding Agent :  SmartFlex100  เพื่อเพิ่มการยึดเกาะของวัสดุซ่อมแซมกับพื้นผิวของคอนกรีตเดิม
7. ติดตั้งก้อน Zinc Anode : Smart Zinc Z+ เข้ากับเหล็กเสริมในคอนกรีต (หลังจากที่ติดตั้งก้อน Zinc Anode แล้ว จะทำให้เหล็กเสริมมีค่า Polarization Decay ไม่น้อยกว่า 100 mV และมีรัศมีในการป้องกันสนิมไม่น้อยกว่า 60 cm. มีระยะเวลาในการป้องกันสนิมไม่น้อยกว่า 10ปี 
8.เข้าแบบ และใช้ Cement Mortar : SmartGrout SG 
9. ฉาบเก็บความเรียบร้อยและสามารถเสริมกำลังโครงสร้างสะพานด้วย CFRP ได้ (ตามดุลยพินิจของวิศกรผู้ดูแล)

ขั้นตอนการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาสะพานข้ามคลอง
1.  สกัดคอนกรีตที่เสียหายออกให้หมด จนถึงเนื้อคอนกรีตที่แข็งแรง 
2.  ขัดทำความสะอาดสนิมเหล็กเสริมด้วยแปรงลวด หรือ เครื่องขัดใส่ใบแปรงลวด 
3.  ทาเคลือบป้องกันสนิมด้วย Smartpime EP-Zinc  เพื่อป้องกันสนิมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
4.  ทาน้ำยาประสานคอนกรีต Bonding Agent :  SmartFlex100  เพื่อเพิ่มการยึดเกาะของวัสดุซ่อมแซมกับพื้นผิวของคอนกรีตเดิม
5.  ติดตั้งก้อน Zinc Anode : Smart Zinc Z+ เข้ากับเหล็กเสริมในคอนกรีต 
6.  ทำการติดตั้งไม้แบบสำหรับเท Non Shrink Cement for Grouting : SmartGrout SG
7.  เท Cement Mortar : SmartGrout SG ลงในแบบที่ยึดไว้กับเสา
8.  เมื่อ SmartGrout SG เซตตัวและแห้ง จึงทำการถอดไม้แบบออก
9.  ฉาบเก็บรายละเอียดเสาคอนกรีตให้เรียบร้อยด้วย SmartGrout PT ชนิดฉาบ

เสาสะพานหลังจากซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีสภาพแข็งแรงและสามารถรับกำลังได้ดีเหมือนเดิม 

#ConcreteRepair #สะพานข้ามคลอง #ZincAnode #เสริมกำลังโครงสร้าง #NonShrinkGrout

ติดต่อเรา บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด รับทํากันซึมดาดฟ้า ซ่อมรอยร้าวคอนกรีต
Facebook : smartandbright
Phone : 02-736-9555
Line : sabhotline

Concrete Repair​ing​

SMART & BRIGHT | บริการรับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรม ซ่อมโครงสร้างอาคาร เสริมกำลังโครงสร้าง CFRP​​
บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด
789 ซอยลาดพร้าว 107 แยก 33
ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
SMART AND BRIGHT CO., LTD.
​789 SOI LADPRAO 107 YAEK 33,
LADPRAO ROAD, KHLONGCHAN, BANGKAPI, BANGKOK 10240 THAILAND
ติดต่อเรา
Tel : 02-736-9555
Hotline : 088-791-4494
ID line : sabhotline
Fax : 02-736-9648
EMAIL : [email protected]
แคทตาล็อค
Innovative Coating Products
The Specialist In Repairing
Strengthening And Coating
All rights reserved @2023 Smart & Bright Co., Ltd.