บริการ CFRP​​ เสริมกำลังโครงสร้างให้มั่นคงแข็งแรง - ด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์

02 736 9555 (Auto 10 Lines)​

ซ่อมแซมคอนกรีตแบบครบวงจร (Concrete Repair)

บริการซ่อมแซมคอนกรีต (Concrete Repair) คือการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กประเภทต่างๆ เช่น

1.  การซ่อมแซมโครงสร้างทางทะเลที่เกิดจากการกัดกร่อนของเกลือซัลเฟสในทะเล (Chloride Attack) การกร่อนตัวจาก Cavitation และการเป็นสนิมของเหล็กเสริมในคอนกรีต เช่น Jetty, Pier, Harbor และ สะพานต่าง ๆ เป็นต้น
2.  การซ่อมแซมคอนกรีตโครงสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ (Injection Structure) เช่น สะพานขนาดใหญ่ ทางด่วน หรือสะพานข้ามแม่น้ำและสะพานข้ามคลอง ตลอดจนสะพานข้ามแยกนี้มักเกิดปัญหาคอนกรีตแตกร้าว และเสื่อมสภาพจากคาร์บอเนชั่น (Carbonation Attack)
3.  การซ่อมแซมโครงสร้างอาคารต่าง ๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่โครงสร้างมักสัมผัสกับสารเคมี, กรดด่าง, หรือภาวะเปียกชื้น (Chemical Attack) จนคอนกรีตเสื่อมสภาพ (Concrete Spoiling) เกิดรอยแตกร้าว (Crack) และเหล็กเสริมในคอนกรีตเป็นสนิม โครงสร้างที่มักมีการซ่อมแซมคอนกรีต คือ บริเวณบ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อชุบ หรือบ่อหมัก ตลอดจนการซ่อมแซมคอนกรีตใน Biogas tank เป็นต้น

บริการงานซ่อมแซมคอนกรีต โดยบริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์จะเป็นบริการในแบบผู้เชี่ยวชาญ อย่างครบวงจร ตั้งแต่การตรวจสอบ (Inspection) วิเคราะห์และเขียนรายงานสรุปปัญหาที่เกิดขึ้น (Report) ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขในส่วน การซ่อมแซมรอยร้าวการซ่อมแซมคอนกรีต การเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีต เพื่อให้งานซ่อมแซมคอนกรีตเป็นไปอย่างครบถ้วนถูกต้อง ตามหลักวิชาการ โดยปกติการซ่อมแซมคอนกรีตเป็นดังนี้คือ

ขั้นตอนการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตแตกร้าวที่เกิดจากเหล็กเสริมเป็นสนิม

1.  กำหนดขอบเขตในการซ่อม โดยใช้เครื่องตัดคอนกรีตตัดผิวคอนกรีตตามแนวตั้งหรือแนวนอน ให้มีระยะห่างจากรอยแตกร้าวประมาณ 10-20 เซนติเมตรตามความเหมาะสม ความลึกประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีตในส่วนที่ไม่มีความเสียหายระหว่างการซ่อมแซม

2.  การสกัดคอนกรีต ต้องสกัดคอนกรีตที่เสียหายออก ให้หมดจนถึงเนื้อคอนกรีตที่แข็งแรง อาจต้องสกัดคอนกรีตจนถึงแนวเหล็กเสริมคอนกรีต หากต้องสกัดจนเจอเหล็กเสริมนั้น ควรสกัดคอนกรีตให้ถึงหลังเหล็กเสริมประมาณ 1-3 เซนติเมตร ตามความยาวของเหล็กเสริมให้สกัดจนถึงเหล็กเสริมที่มีสภาพดีประมาณ 10-20 เซนติเมตร ให้ทำการติดตั้งค้ำยันหรือจะต้องมีการออกแบบค้ำยัน เพื่อความปลอดภัย ขณะทำงาน และป้องกันความเสียหายจากโครงสร้างอื่นๆ

3.  การทําความสะอาดเหล็กเสริม มีวัตถุประสงค์เพื่อกําจัดสิ่งสกปรกที่ติดกับเหล็กเสริม และเช็คสภาพความเสียหายของเหล็กเสริม ได้แก่ คราบนํ้ามัน สนิม เป็นต้น ควรทําความสะอาดด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การขัดด้วยมือโดยใช้แปรงลวดขัดเหล็ก หินเจียร หรือเครื่องขัด การพ่นด้วยทราย หรือฉีดด้วยนํ้าแรงดันสูง (แรงดันนํ้าไม่เกิน 350 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) เป็นต้น

4.  การปรับปรุงเหล็กเสริมคอนกรีต เมื่อพบว่าเหล็กเสริมเป็นสนิมที่ผิวเหล็ก ให้ซ่อมแซมโดยวิธีการขัดด้วยแปรงลวด แล้วเคลือบผิวเหล็กเสริมด้วยวัสดุป้องกันสนิมชนิดที่สามารถยึดเกาะกับวัสดุซ่อมและ เหล็กเสริมได้ดีเช่น Epoxy Zinc หากพบว่าเหล็กเสริมคอนกรีตเป็นสนิมทำให้ พื้นที่หน้าตัดเหล็กเสริมลดลงเกินร้อยละ 10 ควรเปลี่ยนเหล็กเสริมนั้นหรือดามเสริมความแข็งแรง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของวิศวกร หรือ ผู้ควบคุมงาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ได้แก่
    4.1  การซ่อมแซมโดยการเปลี่ยนเหล็กเสริม วิธีที่นิยมใช้ซึ่งได้แก่การตัดเหล็กเสริมส่วนที่เสียหายออกแล้วทาบต่อฺด้วยเหล็กใหม่
    4.2 การซ่อมแซมโดยการใส่เหล็กเสริมเพิ่มเติม วิธีการนี้อาจจำเป็นเมื่อเหล็กเสริมเดิมสูญเสียหน้าตัดเป็นปริมาณมากจนทำให้ปริมาณเหล็กเสริมที่เหลือไม่เพียงพอ โดยเริ่มจากการทำความสะอาดเหล็กเสริมที่เป็นสนิมด้วยวิธีการที่เหมาะสม สกัดคอนกรีตบริเวณรอบๆ ออก จนมีพื้นที่พอในการวางเหล็กเสริมใหม่ข้างเหล็กเสริมเดิมที่มีอยู่

5.  ติดตั้งระบบป้องกันการเกิดสนิมเหล็กชนิดไฟฟ้าเคมี (ระบบกัลวานิค) ในกรณีป้องกันเหล็กเสริมเกิดสนิมแบบถาวร เป็นระบบป้องกันสนิมชนิดก้อนสำหรับติดตั้งบนเหล็กภายในโครงสร้าง เพื่อป้องกันการผุกร่อนที่เกิดจากสนิม มีความสามารถในการควบคุมการสูญเสียค่ากระแสไฟฟ้าในเหล็กเสริม เพื่อควบคุมการเกิดสนิมใหม่

6.  ทาเคลือบเหล็กเสริมด้วยวัสดุ Epoxy ที่มีส่วนผสมของสังกะสี (รหัสสินค้า) เพื่อเป็นรองพื้นป้องกันการเป็นสนิมของเหล็กโครงสร้าง ตามมาตรฐาน BS 4652:1971

7.  ทาน้ำยาประสานคอนกรีตประเภท Acrylic Based Concrete Bonding Agent (รหัสสินค้า) และต้องเป็นน้ำยาประสานคอนกรีตที่มีค่า Bond Strength by Slant Shear 52.38 kgf/cm2 ที่ 28 วัน หรือ Epoxy bonding agent (รหัสสินค้า) โดยทาบริเวณคอนกรีตเก่าเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่ ตามมาตรฐาน ASTM S 1042-99

8.  เทคอนกรีตทับหน้าด้วย Non-Shrink Cement Based with Polymer Modified High Strength (รหัสสินค้า) หากไม่ต้องการเข้าแบบเพื่อเท Cement Non-Shrink Grout สามารถฉาบด้วยวัสดุ Cement Non-Shrink Grout Patching ประเภท Non-Shrink Cement Based with Polymer Modified High Strength (รหัสสินค้า) ชนิดฉาบมีค่า Compressive Strength 935.58 kgf/cm2 และ 850.58 kgf/cm2 ตามลำดับ Bonding Strength 60.75 kgf/cm2 ที่ 28 วัน ตามมาตรฐาน ASTM S 1042-99, ASTM C 579-01, ASTM C 531-00, ASTM D 785-03

9.  ฉาบ Non-Shrink Grout Patching ในการฉาบแต่ละครั้งจะต้องหนาไม่เกิน 1 - 2 เซนติเมตร แต่สามารถใช้การฉาบหลายๆครั้งในการเพิ่มความหนา โดยสามารถฉาบหนาได้ถึง 5 เซนติเมตร จากนั้นปล่อยให้เซ็ทตัว และบ่มด้วยน้ำยาบ่มคอนกรีต (รหัสสินค้า Smartcure) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำในคอนกรีต เมื่อพบปัญหาการสึกกร่อนคอนกรีตทุกครั้งจำเป็นจะต้องตรวจสอบสาเหตุ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำซ้อน และวิเคราะห์วิธีที่เหมาะสมก่อนทำการ "ซ่อมแซมคอนกรีต (Concrete Repair)" เพื่อให้คอนกรีตกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงและรับกำลังได้ดังเดิม โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดการสึกกร่อนในคอนกรีตมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

สาเหตุของการสึกกร่อนในคอนกรีตที่ต้องทำการซ่อมแซม

1.  การเกิดสนิมในเหล็กเสริม
2.  การขัดสี (Abrasion)
3.  การกัดเซาะ
4.  ความเสียหายโดยกรด (Acid attack)
5.  การทำลายจากน้ำทะเล (Sea water damage)
บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด
789 ซอยลาดพร้าว 107 แยก 33
ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
SMART AND BRIGHT CO., LTD.
​789 SOI LADPRAO 107 YAEK 33,
LADPRAO ROAD, KHLONGCHAN, BANGKAPI, BANGKOK 10240 THAILAND
ติดต่อเรา
Tel : 02-736-9555
Hotline : 088-791-4494
ID line : sabhotline
Fax : 02-736-9648
EMAIL : [email protected]
แคทตาล็อค
Innovative Coating Products
The Specialist In Repairing
Strengthening And Coating
All rights reserved @2023 Smart & Bright Co., Ltd.