ซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาสะพานข้ามคลอง

เมื่อมีการพบเห็นคอนกรีตที่มีสภาพเสียหาย เราต้องมีการประเมินสภาพคอนกรีตที่ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพที่เสียหาย ซึ่งถือเป็นความรู้พื้นฐานก่อนทำการซ่อมแซมและนำไปการแก้ไขที่ถูกวิธี เพื่อให้คอนกรีตยังคงสามารถกลับมาใช้งานต่อได้อย่างยาวนาน โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ตรวจสอบต้องประเมินหาสาเหตุที่แท้จริงของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตที่พบ
ขั้นตอนแรกในการซ่อมแซมนั้น เริ่มจากการประเมินโครงสร้างสภาพในปัจจุบัน โดยทบทวนข้อมูลเอกสารการออกแบบและการก่อสร้าง การวิเคราะห์ทางกายภาพด้วยสายตา การวิเคราะห์โครงสร้างที่เสียหาย รายงานการซ่อมแซมที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ผลของการซ่อมแซมในอดีต ผลการวิเคราะห์จากการนำตัวอย่างเข้าทดสอบในห้องปฎิบัติการทางเคมี รวมถึง การวิเคราะห์และทำความเข้าใจในสภาพของโครสร้างคอนกรีตภายในเนื้อคอนเกรีจและเหล็กเสริม ที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
เมื่อประเมินสาเหตุของปัญหาของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการออกแบบ, การเลือกใช้วัสดุและวิธีในการซ่อมแซมที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งการซ่อมแซมสามารถทำได้ในหลายวิธีด้วยกัน
การออกแบบเพื่อซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทุกครั้ง ควรพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลทำให้คอนกรีตมีความคงทน และซ่อมแซมถึงต้นตอสาเหตุของความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงรอยแตกร้าวที่พบเห็น อีกทั้งยังต้องประเมินถึงข้อจำกัด ระยะเวลา งบประมาณ และการเลือกใช้วัสดุที่ไม่ทำลายสุขภาพของคนงานและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญ ของวัตถุประสงค์หลักในการซ่อมแซม ว่าต้องการซ่อมแซมเพื่อใช้งานต่อชั่วคราวหรือต้องการซ่อมแซมถาวร เพราะจะมีผลโดยตรงกับค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งการเลือกใช้ทีมผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์และมีศักยภาพในการทำงานก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ไม่ควรละเลย
ตัวอย่าง การซ่อมแซมเสาสะพานข้ามคลองโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังจากเข้าสำรวจ
พบรอยร้าวบริเวณเสาคอนกรีต และ เหล็กเสริมภายในยังคงมีสภาพที่ดีอยู่ จึงออกแบบให้ซ่อมแซมโดยการใช้วัสดุซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว (Non Shrink Cement for Grouting : SmartGrout SG) เพื่อเป็นการเสริมกำลังโครงสร้าง และใช้ Smartpime EP-Zinc ทาเคลือบเหล็กเสริมเพื่อป้องกันสนิม และติดตั้งก้อน Zinc Anode (Smart Zinc Z+ เพื่อยืดอายุการใช้งานของเส้นเสริมไม่ให้เกิดสนิมในอนาคต
ขั้นตอนการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กของเสาสะพานข้ามคลอง
1. สกัดคอนกรีตที่เสียหายออกให้หมด จนถึงเนื้อคอนกรีตที่แข็งแรง
2. ขัดทำความสะอาดสนิมเหล็กเสริมด้วยแปรงลวด หรือ เครื่องขัดใส่ใบแปรงลวด
3. ทาเคลือบป้องกันสนิมด้วย Smartpime EP-Zinc เพื่อป้องกันสนิมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
4. ทาน้ำยาประสานคอนกรีต Bonding Agent : SmartFlex100 เพื่อเพิ่มการยึดเกาะของวัสดุซ่อมแซมกับพื้นผิวของคอนกรีตเดิม
5. ติดตั้งก้อน Zinc Anode : Smart Zinc Z+ เข้ากับเหล็กเสริมในคอนกรีต
(หลังจากที่ติดตั้งก้อน Zinc Anode แล้ว จะทำให้เหล็กเสริมมีค่า Polarization Decay ไม่น้อยกว่า 100 mV และมีรัศมีในการป้องกันสนิมไม่น้อยกว่า 60 cm. มีระยะเวลาในการป้องกันสนิมไม่น้อยกว่า 10ปี
6. ทำการติดตั้งไม้แบบสำหรับเท Non Shrink Cement for Grouting : SmartGrout SG
7. เท Cement Mortar : SmartGrout SG ลงในแบบที่ยึดไว้กับเสา
8. เมื่อ SmartGrout SG เซตตัวและแห้ง จึงทำการถอดไม้แบบออก
9. ฉาบเก็บรายละเอียดเสาคอนกรีตให้เรียบร้อยด้วย SmartGrout PT ชนิดฉาบ
เสาสะพานหลังจากซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีสภาพแข็งแรงและสามารถรับกำลังได้ดีเหมือนเดิม
#ซ่อมสะพาน #ซ่อมสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก #ซ่อมสะพานข้ามคลอง #ConcreteRepair #ZincAnode #ป้องกันสนิม #ยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น #Non_ShrinkGrout #SmartGroutSG #เสริมกำลังโครงสร้าง
02 736 9555

(Auto 10 Lines)


