การเสริมกำลังรอยร้าวบนพื้นยื่นที่เกิดจากการเสริมเหล็กไม่เพียงพอ ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์
และการซ่อมแซมรอยร้าวที่เกิดจากการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีต (Dry Shrinkage)

รอยร้าวที่เกิดขึ้นในบริเวณอาคาร เป็นปัญหาที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นรอยร้าวบริเวณท้องพื้น คาน หรือเสา สิ่งที่แรกที่เราควรทำ คือ การให้ทีมผู้เชี่ยวชาญ เข้าทำการสำรวจและประเมินสาเหตุของความเสียหาย เพื่อสามารถแก้ไขได้ถูกจุดและตรงตามวัตุประสงค์ของการใช้งาน เพราะรอยร้าวที่เกิดขึ้น อาจไปทำลายโครงสร้างจนเกิดความเสียหาย หรือ อาจเป็นรอยร้าวที่ต้องได้รับการแก้ไขทันทีเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของท่าน
ยกตัวอย่าง เช่น อาคารศูนย์การค้า 5 ชั้นแห่งหนึ่ง หลังโครงสร้างอาคารก่อสร้างแล้วเสร็จ พบรอยร้าวเป็นทางยาวที่ใต้ท้องพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็กทั้ง 5 ชั้น และพบรอยร้าวบนพื้นยื่นที่ชั้น 1 ซึ่งในขณะที่เกิดรอยร้าว พื้นรับน้ำหนักบรรทุกรวมเพียง 60% ของที่ออกแบบไว้
จากสภาวะดังกล่าวที่เกิดขึ้น เราสามารถแบ่งแยกแนวทางการซ่อมแซม ออกได้เป็น 2 เรื่องใหญ่ๆ ดังนี้
1. การซ่อมแซมส่วนของใต้ท้องพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็กทั้ง 5 ชั้น
2. การซ่อมแซมรอยร้าวบนพื้นยื่นที่ชั้น 1 ซึ่งพื้นรับน้ำหนักได้เพียง 60% จากที่ออกแบบไว้
โดยการวิเคราะห์สาเหตุ เราใช้การวิเคราะห์และคำนวณตรวจสอบปริมาณเหล็กเสริมที่ต้องการด้วยวิธี Finite Element Method (FEM) ซึ่งได้ผลวิเคราะห์และแนวทางการซ่อมแซม ดังนี้
ส่วนที่ 1 : ส่วนใต้ท้องพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็กทั้ง 5 ชั้น
ผลการวิเคราะห์
จากการวิเคราะห์ พบว่า พื้นที่ 5 ชั้นมีปริมาณเหล็กเสริมล่างเพียงพอ ดังนั้น การรับน้ำหนักเกินกำลัง จึงไม่ใช่สาเหตุหลักของรอยร้าวที่พบบริเวณท้องพื้นทั้ง 5 ชั้น
เมื่อพิจารณารอยร้าวที่เกิดขึ้นต่อ จะพบว่า รอยร้าวที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็น “ทางยาวและทะลุ” ความหนาของพื้นคอนกรีต จากการวิเคราะห์สาเหตุของรอยร้าวที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การหดตัวแบบแห้งของคอนกรีต (Drying Shrinkage) ซึ่งมักถูกพบในโครงสร้างพื้นที่ถูกยึดรั้งและมีการสูญเสียน้ำในช่องว่างของคอนกรีต (Capillary Water Loss)
รอยร้าวที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้จะเกิดขึ้น เมื่อหน่วยแรงดึงที่เกิดขึ้นมีค่าเกินกว่ากำลังรับแรงดึงของคอนกรีต โดยพฤติกรรมการหดตัวแบบแห้งนี้ มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนแรกๆของคอนกรีต และจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อคอนกรีตมีอายุประมาณ 1 ปี
แนวทางการแก้ไข
ในทางทฤษฎีแล้ว ถือว่ารอยร้าวอันเนื่องมาจาก การหดตัวแบบแห้งไม่เป็นความเสียหายทางโครงสร้างและไม่มีผลต่อความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นโดยตรง ดังนั้น แนวทางการซ่อมแซมรอยร้าวที่ท้องพื้นที่มีความกว้างกว่า 0.3มม. ทางบริษัทสมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด ดำเนินการซ่อมแซมโดยวิธีใช้ Epoxy Injection (SmartInjection EP21) ซึ่งวิธีนี้ยังสามารถช่วยชดเชยกำลังแรงเฉือนของพื้นคอนกรีตที่ลดลง จากสาเหตุของการเกิดรอยร้าวได้อีกด้วย
ส่วนที่ 2 : รอยร้าวบนพื้นยื่นที่ชั้น 1
ผลการวิเคราะห์ :
สำหรับรอยร้าวที่พบบนพื้นยื่นที่ชั้น 1 พบว่า ตำแหน่งรอยร้าวมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งเหล็กเสริมบนกว่า 70% ซึ่งถูกหยุดที่ขอบแป้นหัวเสา (Drop Panels) ทำให้พื้นยื่นมีกำลังลดลงอย่างฉับพลัน และพบว่า พื้นรับแรงดัดเกินกำลัง รอยร้าวที่เกิดขึ้นจึงมีสาเหตุมาจาก “การเสริมเหล็กไม่เพียงพอ”
แนวทางการแก้ไข
สำหรับรอยร้าวบนพื้นยื่นที่ชั้น 1 ทางบริษัทสมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด ได้ทำการเสริมกำลังด้วย Carbon Fiber Reinforced Polymer (CFRP) โดยเลือกใช้ Strip Carbon Fiber หรือเรียกว่า คาร์บอนไฟเบอร์ ชนิดเส้น โดยทำการติดตั้งเพื่อเสริมกำลังคาร์บอนไฟเบอร์ที่ด้านบนของพื้น โดยใช้ Strip Carbon Fiber รุ่น SmartFiber-Strip TL-512 หนา 1.2มม. และมีกำลังรับแรงดึง 24,000ksc ซึ่งทำให้พื้นยื่นบริเวณชั้น 1 สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ปลอดภัยตามที่กฎกระทรวงกำหนด
จากกรณีตัวอย่าง เราจะเห็นว่าในหนึ่งอาคาร สามารถเกิดรอยร้าวได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งควรได้รับการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการซ่อมแซมจากทีมวิศกรผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งยังควรได้รับการซ่อมแซมจากทีมงานมืออาชีพที่มีความเข้าใจในการซ่อมรอยร้าวและการเลือกใช้วัสดุที่นำไปใช้อย่างถูกต้อง
หากพบรอยร้าวไม่ว่าจะเป็น บริเวณท้องพื้น คาน เสา ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญของ บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด เพื่อเข้าทำการสำรวจและวิเคราะห์เบื้องต้น และนำเสนอแนวทางในการแก้ไขซ่อมแซม เพื่อความปลอดภัยและความอุ่นใจของทุกท่าน
“ รอยร้าวไม่ใช่เรื่องยาก หากมีความเข้าใจและแก้ไขได้ถูกต้อง”
02 736 9555

(Auto 10 Lines)


