
ที่มาแหล่งข้อมูล :
http://www.dstd.mi.th/board/index.php?topic=2074.0
http://en.wikipedia.org/wiki/Carbon_fiber
http://www.engr.utk.edu/mse/Textiles/CARBON%20FIBERS.htm
http://www.carbonfiber.gr.jp/english/faq/faq.html
http://www.chem.wisc.edu/~newtrad/CurrRef/BDGTopic/BDGtext/BDGGraph.html
http://www.mtec.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=122&Itemid=36
ตอนที่ 2 : วิวัฒนาการของคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)

ตอนที่ 2 : วิวัฒนาการของคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)
วันนี้ Mr.Smart จะมาเล่าถึงวิวัฒนาการของคาร์บอนไฟเบอร์ ให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพของการพัฒนาจนกระทั่งได้มาเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคาร์บอนไฟเบอร์อย่างจริงจังเกิดจากความต้องการของกองทัพสหรัฐที่ ต้องการวัสดุชนิดใหม่ที่มีน้ำหนักเบา และมีความแข็งแรงสูงสำหรับสร้างเครื่องบิน ซึ่งในปี ค.ศ. 1957
ดร.โรเจอร์ เบคอน (Roger Bacon) จาก Union Carbide Parma Technical Center ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประสบความสำเร็จในการใช้ความร้อนเปลี่ยนเส้นใย เรยอน (rayon) ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ ชนิดหนึ่งให้กลายสภาพเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ได้
คาร์บอนไฟเบอร์เส้นแรกถูกผลิตโดยการให้ความร้อนกับเรยอนจนกระทั่งเกิดกระบวนการ
คาร์บอไนซ์ ในกระบวนการนี้ได้แสดงให้เห็นว่าคาร์บอนไฟเบอร์ที่ได้นั้นยังไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอผลลัพธ์คือ ได้ไฟเบอร์ที่มีคาร์บอนเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น นอกจากนี้คาร์บอนไฟเบอร์ที่ผลิตได้ก็มีความแข็งแรงต่ำ
จนกระทั่งถึงช่วงต้นของยุค 1960 ได้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยเปลี่ยนวัตถุดิบจาก เรยอน เป็นโพลีอะคริโลไนไทรล์ (Polyacrylonitrile ) หรือที่เรียกว่า เส้นใย PAN ซึ่งทำให้สามารถเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ได้มากขึ้นเป็นร้อยละ 55 โดยใช้ความร้อนในการแยกเส้นใยคาร์บอนที่อุณหภูมิ 1200 – 3000 องศาเซลเซียส ซึ่งคาร์บอนไฟเบอร์ที่ได้จาก PAN เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผลิตได้จากเรยอน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นอีกครั้ง ในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมื่อมีการพบว่า ของเหลวข้นที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันที่เรียกว่า พิทช์ (pitch) ก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคาร์บอนไฟเบอร์ได้ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเปลี่ยนเป็นคาร์บอนไฟเบอร์ให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 85 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มีจุดเด่นเรื่องความแข็งแรงดัด (Flexural Strength) แต่มีจุดด้อยเรื่องความแข็งแรงกด (Compressive Strength) ทำให้ไม่ค่อยมีผู้ยอมรับคาร์บอนไฟเบอร์จากพิทช์มากนักเพราะต้องใช้แรงในการดัดขึ้นรูปสูง เลยไม่ค่อยได้รับความนิยมในวงกว้าง
ปัจจุบันนี้ คาร์บอนไฟเบอร์ เป็นส่วนสำคัญในหลายๆผลิตภัณฑ์ และการประยุกต์ใหม่ๆ ได้ถูกพัฒนาทุกๆปี สหรัฐอมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มยุโรป เป็นประเทศที่เป็นผู้นำในเทคโนโลยีคาร์บอนไฟเบอร์
02 736 9555

(Auto 10 Lines)


