เจ้าของโครงการต้องการแก้ปัญหาการเสื่อมสภาพของลวดอัดแรงอย่างถาวรในกรณีที่ลวดอัดแรงเสียหายทั้งชั้น สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ ได้ดำเนินการ ออกแบบ และ เสริมกำลังด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ ( Caron Fiber ) ดังนี้คือ
1.ทำการวิเคราะห์โครงสร้างโครงสร้างอาคารก่อนการเสริมกำลังด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ ( Caron Fiber ) ด้วยวิธี Finite Element Method แบบ 2 มิติ
2.ออกแบบเสริมกำลังความแข็งแรงของพื้นด้วย CFRP โดยใช้ คาร์บอนไฟเบอร์ชนิดแผ่น ( Carbon Fiber Sheet ) หน้ากว้าง 500 มม. น้ำหนัก 300 กรัม รุ่น SmartFiber Sheet UT70-30
3.เสริมคานเหล็กรูปพรรณใต้ท้องพื้นในแนวเสา เพื่อป้องกันการวิบัติของพื้นเนื่องจากแรงเฉือนทะลุ ทั้งยังช่วยลดการโก่งตัวของพื้นที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากลวดอัดแรงขาด และลดค่าโมเมนต์ในแถบพื้นและปริมาณ CFRP ให้พอเหมาะตามงบประมาณที่ต้องการ
ลวดเกลียวที่ขาดและหลุดออกจากสมอยึด
การเสริมกำลังด้วย CFRP โดยใช้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ ติดตั้งรอบช่องเปิด ใต้พื้นชั้น 2 จะช่วยให้พื้นไม่เกิดรอยร้าวและมีความปลอดภัยเพียงพอเมื่อใช้งานตามปกติ

ขั้นตอนการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ชนิดแผ่น
( Carbon Fiber Sheet ) ( SmartFiber Sheet UT70-30) มีดังนี้คือ
1.ขัดเจียรคอนกรีตเพื่อสร้างการยึดเกาะที่ดีให้กับคาร์บอนไฟเบอร์ ( Carbon Fiber)
2.ทำความสะอาด ดูดฝุ่นในบริเวณที่จะติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ ( Carbon Fiber )
4.ตีเส้นเพื่อกำหนดตำแหน่งในการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์เสริมกำลัง (Carbon Fiber Strengthening)
ตามแบบที่ผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้
3.เคลือบวัสดุอีพ็อกซี่รองพื้น Smart CF Resin
4.เคลือบ Smart CF Resin ผสมด้วย Calofil30 ฉาบเกร้าท์ปรับเรียบพื้นที่ที่เคลือบชั้นรองพื้นไว้เรียบร้อยแล้ว
5.เคลือบวัสดุอีพ็อกซี่รองพื้น Smart CF Resin ชั้นที่ 2
6.ดำเนินการติดตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ชนิดแผ่น SmartFiber Sheet UT70-30
7.ใช้ลูกกลิ้งกดรีดแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ให้แน่นแนบสนิทไม่มีอากาศและเคลือบอีพ็อกซี่ Smart CF Resin จนชุ่ม
8.ดำเนินการติดตั้งคานเหล็กรูปพรรณ ตามแบบ
เพียงเท่านี้ ลวดอัดแรงที่ขาด ก็สามารถใช้ การเสริมกำลังด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ ( Carbon Fiber Strengthening)และคานเหล็กรูปพรรณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และชดเชยกำลังที่หายไป กลับมาเป็นปกติและใช้อาคารได้อย่างปลอดภัยดังเดิม
การออกแบบเสริมความแข็งแรงของพื้นไร้คานท้องเรียบระบบ Unbonded Post-tensioned ลวดเกลียว
(Strand) ขาดและหลุดออกมาจากสมอยึดลวด (Anchorage) ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber)

อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปี 2553 ชั้น 2 ใช้เป็นพื้นที่รับรองและสถานบันเทิง ก่อสร้างเป็นพื้นไร้คานท้องเรียบระบบ Unbonded Post-tensioned จากการสำรวจพบลวดเกลียว (Strand) ขาดและหลุดออกมาจากสมอยึดลวด (Anchorage) จำนวน 2 จุด ซึ่งมีสาเหตุมาจากน้ำซึมขังในท่อหุ้มลวดอัดแรง (Duct) เป็นเวลานาน ทำให้ลวดอัดแรงเป็นสนิมจนไม่สามารถรับแรงดึงในลวดได้ ปัญหานี้พบทั่วไปในอาคารเก่าที่ก่อสร้างด้วยพื้นระบบ Unbonded Post-tensioned
02 736 9555

(Auto 10 Lines)


