บริการ CFRP​​ เสริมกำลังโครงสร้างให้มั่นคงแข็งแรง - ด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์

02 736 9555 (Auto 10 Lines)​

แก้ไขปัญหารอยร้าวและรั่วซึมดาดฟ้าคอนกรีตอาคารโรงงานขนาดใหญ่ 

22-05-2566
แก้ไขปัญหารอยร้าวและรั่วซึมดาดฟ้าคอนกรีตอาคารโรงงานขนาดใหญ่ 

ดาดฟ้าคอนกรีตอาคารโรงงานขนาดใหญ่ เกิดปัญหาการรั่วซึมโดยทั่วไปทั้งอาคารโดยที่ผ่านมา เจ้าของอาคารได้พยายามเคลือบกันซึมดาดฟ้า หลายครั้งจนทำให้ทั้งหลังคาดาดฟ้ามีกันซึมหลากหลายชนิดเคลือบสะสมอยู่ด้านบน หลังจากเข้าสำรวจพื้นที่หน้างาน พบว่ากันชึมเก่าเสียหายหลุดล่อนส่งผลให้น้ำซึมเข้าไปในตัวอาคารจำนวนมาก

อุปสรรรคใหญ่ของโครงการนี้ คือ การรื้อกันซึมเดิมออก เนื่องจากมีกันซึมซ้อนทับอยู่หลายประเภท และบางส่วนยึดเกาะกับคอนกรีตอย่างมาก เพื่อให้ได้กันซึมใหม่ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบร์ท จำกัด จึงทำการรื้อกันซึมเดิมออกแบบ 100%

โดยการก่อสร้างโครงสร้างอาคารถูกออกแบบให้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยพื้นที่ชั้นดาดฟ้าจัดแบ่งเป็น 2 รูปแบบ

ส่วนที่หนึ่งเป็นโครงสร้างดาดฟ้าอาคารเทคอนกรีต Slope 1:100 โดยรอบอาคารทั้งหมดสามารถเดินเป็นวงกลมโดยรอบได้

ส่วนที่สองถูกออกแบบเป็นโครงสร้างหลังคาเมทัลชีทคลุมบริเวณตรงกลางทั้งหมดของอาคาร

โดยพื้นที่ดาดฟ้าในส่วนที่หนึ่ง ถูกแบ่งส่วนตามประโยชน์การใช้สอยออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน

ส่วนที่หนึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำโดยทั่วไปซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เทท็อปปิ้งSlope 1:100 พร้อมมีรางระบายน้ำบางส่วนและตำแหน่งรับน้ำที่เรียกว่า Roof Drain อยู่บน ดาดฟ้าอาคาร

โดยพื้นที่ส่วนนี้พบปัญหารอยร้าวที่เกิดจาก 2 สาเหตุ ดังนี้

1. ซ่อมรอยร้าวเนื่องจากคอนกรีตยืดหดขยายตัว โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีสภาพอากาศแบบร้อนชื้นในเวลากลางวันอุณหภูมิเฉลี่ยของฤดูร้อน จะอยู่ที่ประมาณ  35-50 องศาเซลเซียส  ซึ่งถือว่าร้อนมาก เมื่อคอนกรีตดาดฟ้า ได้รับความร้อนเป็นเวลานานตั้งแต่เช้าจรดเย็น ก็จะเกิดการขยายตัวอย่างมากเกินกว่า 5000 ไมโครสเตรน หากเกิดฝนตก กระทันหันเช่นเกิดพายุฤดูร้อนฝนที่ตกลงมานั้นจะทำให้อากาศโดยรวม ลดลงอย่างรวดเร็วมากเกินกว่า 10 องศาเซลเซียส และพื้นดาดฟ้า คอนกรีตขนาดใหญ่เมื่อโดนฝนโดยเฉียบพลันจะคลายความร้อนและหดตัวอย่างรวดเร็ว 

ซึ่งเป็นธรรมดาของโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ตัดแบ่ง Expansion Joint  ไว้ไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เกิดรอยร้าวจำนวนมาก โดยทั่วไปทั้งพื้นที่ 5000 ตารางเมตรกระจายอยู่นับจำนวนรอยร้าวได้ประมาณ 1000 เมตร ส่งผลให้น้ำเกิดการรั่วซึมในบริเวณรอยร้าว เข้าสู่ตัวอาคาร โดยรอยร้าวประเภทนี้จะต้องซ่อมรอยร้าวคอนกรีต โดยการ Seal ปิดทับด้วย Polyurethane Sealant ( SmartJoint PU 600 ) ซึ่งมีความสามารถในการยืดตัว (Elongation) ได้ประมาณ 600% โดยเปอร์เซ็นต์การยืดตัวดังกล่าวของ PU Sealant นี้สูงกว่าความสามารถในการยืดตัวของคอนกรีตเกินกว่า 100เท่า ด้วย คุณสมบัติที่ดีของ PU Sealant นี้ ผู้ออกแบบจึงนิยมนำมาใช้ Seal ปิดทับรอยร้าว ที่เกิด จากการยืดหดขยายตัวของคอนกรีต

2. รอยร้าวโครงสร้าง โดยขนาดความกว้างของรอยร้าวเมื่อวัดขนาดโดยใช้ Crack Width Gauge พบว่ามีขนาดประมาณ 0.3 ถึง 0.8 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นรอยร้าวในระดับที่จำเป็นจะต้องซ่อมแซมตามมาตรฐานที่ดีทางวิศวกรรม ซึ่งมีข้อกำหนดว่าหากเกิดรอยร้าวโครงสร้างที่มีขนาดความกว้างของรอยร้าวเกินกว่า 0.3 มิลลิเมตรขึ้นไป จะต้องดำเนินการซ่อมรอยร้าวครนกรีต หรือ โครงสร้าง ด้วยการอัดฉีด Epoxy Injection คุณสมบัติที่สำคัญของอีพ็อกซี่อินเจ็คชั่น (SmartInjection EP21 ) 

คุณสมบัติของ Epoxy Injection สำคัญ มีดังนี้ คือ 

1. มีเนื้อสารอีพ็อกซี่ (Solid Content) 100% คือไม่มีตัวทำละลายใดๆ เช่น ทินเนอร์ หรือ โทลูอีน เป็นส่วนประกอบ ที่เป็นเช่นนี้เพราะการซ่อมรอยร้าวที่มีความลึกมากๆ ในกรณีที่คอนกรีตมีความหนามาก หากมี ตัวทำละลายเป็นส่วนประกอบจะทำให้วัสดุ Epoxy Injection ไม่สามารถ แข็งตัวได้ เพราะ การทำละลายดังกล่าวไม่สามารถระเหยผ่าน ความหนาของเนื้อสารออกไปได้จึงทำให้ความสามารถในการรับกำลังอัด คอนกรีต( Compressive Strength ) ลดลงมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่ Epoxy Injection จะต้องเป็นชนิด 100% Solid เท่านั้น 

2. Epoxy Injection ที่ดีจะมี ความหนืดต่ำ  Low Viscosity ) เมื่อค่าความหนืดต่ำวัสดุอีพ็อกซี่อินเจ็คชั่นซึ่งเป็นของไหล ที่เมื่อดำเนินการอัดฉีด Epoxy Injection โดยน้ำยาอีพ็อกซี่อินเจ็คชั่น ต้องไหลผ่านหัวอัดฉีดน้ำยา เข้าไปยังรอยร้าวของคอนกรีต ได้โดยง่าย เพื่อให้วัสดุ  Epoxy Injection สามารถไหลเข้าไปได้ลึกตลอดแนว รอยร้าวของคอนกรีต และ ตลอดความยาวของรอยร้าว

3. Epoxy Injection ที่ดี ควรมีค่า ความสามารถในการรับกำลังอัด ( Compressive Strength ) ที่สูง มากเกินกว่า 800 Ksc. ค่าความสามารถในการรับกำลังอัดที่สูงของวัสดุอีพ็อกซี่อินเจ็คชั่นนี้ จะทำให้ค่าการรับกำลังอัดของคอนกรีตดาดฟ้าโดยรวมภายหลังการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยอีพ็อกซี่อินเจ็คชั่นเรียบร้อยแล้ว ไม่ลดลงจากเดิม 

4. Epoxy Injection ที่ดี ควรมีค่า ( Bond Strength ) ที่สูงเนื่องจากจะทำให้การยึดคอนกรีตที่แยกออกจากกันด้วยรอยร้าวกลับมาแน่นสนิทเสมือนการติดกาวอีกครั้งโดยไม่มีช่องว่างเกิดขึ้น จึงทำให้คอนกรีตที่เคยเกิดรอยร้าวไม่มีรอยร้าวอีกต่อไป 
==============

ปัญหาข้อที่สองคือภาวะน้ำขังบนดาดฟ้า ที่มีกระจายเป็นแอ่งโดยทั่วไป โดยส่วนใหญ่ ผู้ว่าจ้างนิยมจะให้ผู้รับจ้างปรับ แอ่งน้ำขังด้วยการใช้วัสดุประเภท Cement Polymer หรือ วัสดุประเภท Cement Non Shrink Grout โดยวัสดุทั้งสองประเภทดังกล่าวเมื่อนำมาปรับแอ่งน้ำแล้ว  เมื่อเวลาผ่านไปในระยะเวลาหนึ่งจากค่อยๆ หลุดล่อนออกจากคอนกรีตเดิม และแตกเป็นชิ้นเล็กๆ สาเหตุเกิดขึ้นจากวัสดุที่ใช้ปรับแอ่งน้ำชนิดนี้ มีความเปราะ ไม่ยืดหยุ่นตัว ไม่มีความเหนียว และไม่สามารถเคลือบในระดับที่บางมากๆได้จึงแตกและหลุดล่อนจากเนื้อคอนกรีตเดิมได้โดยง่ายการซ่อมแซมแอ่งน้ำที่ถูกต้องจำเป็นจะต้องซ่อมแซมด้วยการฉาบด้วย Epoxy Mortar หรือ Epoxy Moisture Barrier

ขั้นตอนการซ่อมแซมแอ่งน้ำที่ถูกต้องจะต้องดำเนินการดังนี้คือ

1. ดำเนินการขัดเจียรผิวคอนกรีตเพื่อสร้างการยึดเกาะที่ดีระหว่างคอนกรีตกับวัสดุ Epoxy Mortar 
2. ดำเนินการเคลือบ Epoxy รองพื้น ( Smartprime EP112) ให้ทั่วบริเวณที่ดำเนินการปรับแอ่งน้ำและปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งเป็นชั้นฟิล์มหนา
3. ดำเนินการปรับแอ่งด้วยวัสดุอีพ็อคซี่มอร์ต้า( Smartfloor EP 102 ผสมทรายอบแห้ง หรือ ปูนขาว ) และใช้เกรียงฉาบให้เรียบเสมอกัน โดยหากอ้างดังกล่าวมีบริเวณกว้างมากอาจใช้เหล็กฉากลาก เพื่อปรับระดับ ให้ อีพ็อกซี่มอร์ต้า ไหล เต็มแอ่งน้ำได้
4. เมื่อดำเนินการปรับแอ่งเรียบร้อยแล้วในบริเวณขอบรอบนอกของแอ่งทั้งหมด  ต้องขัดเจียร ให้เรียบเนียน ไปกับพื้นดาดฟ้าคอนกรีตโดยรวม
5. ในกรณีที่น้ำขังเป็นแอ่งลึกตรงบริเวณกลางพื้นดาดฟ้า มีระยะห่างจากรางระบายน้ำค่อนข้างมาก และการปรับแอ่งโดยการใช้อีพ็อกซี่ ไม่สามารถทำได้โดยง่ายเพราะจะสิ้นเปลืองวัสดุ เป็นจำนวนมากนั้นให้ดำเนินการระบายน้ำออกไปสู่รางระบายน้ำโดยวิธีการตัดร่องระบายน้ำขนาดเล็กเสมือนเป็นรางวีด้วยใบตัด คอนกรีตและทำให้เกิด Slope น้ำไหล ไปสู่รางระบายน้ำเพื่อระบายน้ำที่ขังออกจากบริเวณตรงกลางดาดฟ้าได้โดยง่าย
==================

ปัญหาดาดฟ้ามีความชื้นสูงในระหว่างเคลือบวัสดุกันซึม

ในระหว่างเคลือบวัสดุ PU กันซึม นั้น หากพื้นผิวคอนกรีตมีความชื้นมากกว่า 4% ( วัดความชื้น โดย Concrete Moisture Meter) ต้องรอให้ผิวคอนกรีตมีความชื้นต่ำกว่า 4% ก่อนที่สามารถเคลือบวัสดุกันซึม ชนิดต่างๆลงไปบนพื้นคอนกรีตได้ หากผู้ควบคุมงานไม่ได้ตรวจสอบความชื้นของคอนกรีตและอนุญาตให้ผู้รับจ้างเคลือบวัสดุ PU กันซึมลงบนผิวคอนกรีตที่มีความชื้นสูงเกินกว่า 4% แล้วจะทำให้เกิดฟองอากาศ บนผิวเคลือบวัสดุกันซึมได้ ( Bubble from Moisture Rising ) ดังนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง Bubble ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนดำเนินการเคลือบกันซึมใดใดก็ตาม หากอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านฤดูกาล หรือ อยู่ในช่วงรอยต่อปลายฝนต้นหนาว หรือช่วงฤดูฝนก็ตาม หรือในบริเวณต่างๆที่เกิดความชื้นได้โดยง่ายเช่นบริเวณ Cooling Tower เป็นต้น

ผู้ออกแบบควรออกแบบวัสดุป้องกันความชื้นเคลือบก่อนการเคลือบวัสดุกันซึม เพื่อป้องกันไม่ให้กันซึมเกิด Bubble เกิดขึ้น

การเคลือบวัสดุป้องกันความชื้น ( Smartfloor Epoguard ) นั้นให้เคลือบไม่น้อยกว่า 2.0 มิลลิเมตรความหนาในระดับ 2.0 มิลลิเมตร เป็นความหนาที่มากเพียงพอที่จะป้องกันความชื้นจากคอนกรีตดาดฟ้าไม่ให้ขึ้นมาสู่ชั้นเคลือบ กันซึมโพลียูรีเทน ( Polyurethane Waterproof ) ได้

การเคลือบวัสดุป้องกันความชื้น ( Smartfloor Epoguard ) นั้นให้เคลือบไม่น้อยกว่า 2.0 มิลลิเมตรความหนาในระดับ 2.0 มิลลิเมตร เป็นความหนาที่มากเพียงพอที่จะป้องกันความชื้นจากคอนกรีตดาดฟ้าไม่ให้ขึ้นมาสู่ชั้นเคลือบ กันซึมโพลียูรีเทน ( Polyurethane Waterproof ) ได้

ภายหลังการเคลือบวัสดุป้องกันความชื้นเรียบร้อยแล้วควรดำเนินการใช้เครื่องขัดเจียร ขัดบริเวณผิววัสดุป้องกันความชื้นให้เรียบ ทั่วทั้งผืนเพื่อสร้างการยึดเกาะที่ดีระหว่างชั้นป้องกันความชื้นและชั้นปรับเรียบในชั้นถัดไป

โดยเมื่อขัดเจียรเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการดูดฝุ่นทั่วทั้งผืนดาดฟ้าให้สะอาด ไม่มีฝุ่นและสิ่งสกปรกใดๆ ติดอยู่ที่ผิววัสดุป้องกันความชื้น จึงจะสามารถดำเนินการเคลือบชั้นปรับเรียบ ด้วยอีพ็อคซี่ปรับเรียบ ( Epoxy Putty Layer ด้วยวัสดุ  Smartfloor EP-102 ผสม Filler )นั่น จะใช้เกรียงเหล็กฉาบลงบนผิวอีพ็อคซี่ชั้นป้องกันความชื้น จนทั่วบริเวณโดยจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดรูตามดที่ผิวอีพ็อกซี่ชั้นปรับเรียบ หากผิวอีพ็อคซี่ชั้นปรับเรียบชั้นที่หนึ่ง เกิดรูตามดเกิดขึ้นจำเป็นจะต้องดำเนินการปรับเรียบชั้นที่สอง ด้วย Epoxy Putty อีกครั้ง รูตามดจากค่อยๆลดลงเรื่อยๆ  หากผิวปรับเรียบในตำแหน่งใด มีรูตามดมากเป็นพิเศษให้ดำเนินการ โป๊วเก็บเฉพาะจุด 

==================

เมื่อดำเนินการเตรียมความพร้อมในการเคลือบกันซึมเรียบร้อยแล้วก็ให้เลือกชนิดกันซึมที่เหมาะสมกับอาคารและงบประมาณของผู้ว่าจ้าง

โดยในที่นี้ผู้ว่าจ้างได้เลือกกันซึมชนิดโพลี่ยูรีเทนแบบสองส่วนผสม ( Two Component Polyurethane Waterproof) 

คุณลักษณะพิเศษของกันซึมโพลี่ยูรีเทนชนิดสองส่วนผสมนี้ มีข้อดี คือ สามารถทนทานต่อการแช่การขังของน้ำได้มากกว่ากันซึมโพลี่ยูรีเทนชนิดส่วนผสมเดียว ( One Component Water Base Polyurethane)

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่ากันซึมโพลี่ยูรีเทนที่มีส่วนผสมเดียวมีชั้นเคลือบที่บาง เนื่องจากใช้ลูกกลิ้งทาเคลือบ และเนื่องจาก Base ที่ใช้ทำละลายเป็นน้ำ ดังนั้น เมื่อแช่น้ำเป็นเวลานาน จึงเปื่อยยุ่ยได้โดยง่าย 

ในขณะที่กันซึมโพลี่ยูรีเทนสองส่วนผสม มีชั้นความหนาที่หนากว่าเนื่องจากการเคลือบใช้เกรียงฉาบและเป็นกันซึมชนิด Solid 100% ไม่มีน้ำเป็นส่วนผสมจึงสามารถทนต่อการแช่แข็งของน้ำได้ดีกว่ากันซึมประเภท Acrylic Water base และ Polyurethane One Component Water Base มาก

ขั้นตอนการเลือกกันซึมดำเนินการดังนี้คือ

1. เคลือบโพลี่ยูรีเทนชั้นรองพื้นด้วยวัสดุ Smartroof PU 201 เพื่อสร้างการยึดเกาะที่ดีระหว่างผิวชั้นเคลือบ Epoxy Putty Layer กับ Polyurethane Primer ดำเนินการรอจนวัสดุ PU Primer ชั้นรองพื้น แห้งตัวเรียบร้อย จึงดำเนินการเคลือบวัสดุ Polyurethane ในขั้นตอนต่อไป
2. เคลือบวัสดุชั้นกันซึมพื้นโพลี่ยูรีเทนชนิดสองส่วนผสม ( Polyurethane Two Component ) ด้วยเกรียงฉาบ ที่ความหนา 2.0-5.0 มิลลิเมตร ตามงบประมาณของลูกค้าและอายุการใช้งานที่ต้องการ เนื้อวัสดุ กันซึมโพลี่ยูรีเทนชั้นกลางเมื่อเคลือบลงบนกันซึมโพลี่ยูรีเทนชั้นรองพื้นแล้ว จะสังเกตว่า กันซึมโพลี่ยูรีเทนชั้นกลางนี้ ปรับระดับได้ในตัวเอง เป็นพื้นเดียวกันทั้งผืนโดยไม่มีรอยต่อจึงทำให้ไม่เกิดจุดอ่อนที่จะเกิดการรั่วซึม ซึ่งแตกต่างจากกันซึมชนิดแผ่น ที่มีรอยต่อมาก กันซึมโพลี่ยูรีเทนชั้นกลางนี้มีคุณสมบัติที่ดีในการป้องกันการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี โดยตัวนี้วัสดุมีการยืดหยุ่นตัวที่ดี ( Very high Elongation) ประมาณ 400% 

เมื่อเกิดภาวะฝนตกแดดออกร้อนสลับเย็นหรือเกิด Thermal Shock วัสดุกันซึมโพลี่ยูรีเทนชนิดสองส่วนผสม ( PU 2 Component ) ก็จะสามารถ ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีจึงเหมาะสมกับสภาพอากาศของเมืองไทยมาก

โดยเฉลี่ยกันซึมชนิดโพลี่ยูรีเทน ( PU Waterproof) จะมีอายุการใช้งานอยู่ในช่วงระหว่าง 3-5 ปี นอกจากนี้ กันซึม PU ชั้นกลาง ยังมีส่วนช่วยให้อาคารเย็นขึ้น  และมีคุณสมบัติที่ดีในการป้องกันเสียงรบกวนอีกด้วย เมื่อเคลือบกันซึมโพลี่ยูรีเทนชั้นกลางเรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการเคลือบโพลี่ยูรีเทนชั้นบนสุด ( PU Topcoat) เพื่อป้องกันแสง UV และทำให้สีทับหน้าของกันซึมโพลี่ยูรีเทน มีความสม่ำเสมอ และ สวยงาม ตามความประสงค์ของผู้ว่าจ้าง

YouTube : https://youtu.be/Ydx0JAb7qAA

ติดต่อเรา บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด รับทํากันซึมดาดฟ้า ซ่อมรอยร้าวคอนกรีต
Facebook : smartandbright
Phone : 02-736-9555
Line : @smartandbright

บทความอื่นๆ

SMART & BRIGHT | บริการรับทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรม ซ่อมโครงสร้างอาคาร เสริมกำลังโครงสร้าง CFRP​​
บริษัท สมาร์ท แอนด์ ไบรท์ จำกัด
789 ซอยลาดพร้าว 107 แยก 33
ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร 10240
SMART AND BRIGHT CO., LTD.
​789 SOI LADPRAO 107 YAEK 33,
LADPRAO ROAD, KHLONGCHAN, BANGKAPI, BANGKOK 10240 THAILAND
ติดต่อเรา
Tel : 02-736-9555
Hotline : 088-791-4494
ID line : sabhotline
Fax : 02-736-9648
EMAIL : [email protected]
แคทตาล็อค
Innovative Coating Products
The Specialist In Repairing
Strengthening And Coating
All rights reserved @2023 Smart & Bright Co., Ltd.