เรามักเข้าใจผิดว่า เฉพาะพื้นโรงงานอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นที่จำเป็นต้องทำพื้น Anti-Static เพื่อนำไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสสิ่งของ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงสู่สายดิน [Ground] นอกจากพื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตจะใช้กับพื้นโรงงานอิเล็กทรอนิกส์แล้วที่สำคัญมากๆ คือควรใช้กับพื้นโรงงานผลิตโฟม เช่น Polystylene Foam [โฟมสีขาว] พื้นโรงงานผลิตน้ำหอม, พื้นโรงงานผลิตแป้งที่มีฝุ่นฟุ้ง, พื้นโรงงานเก็บวัตถุไวไฟประเภทต่างๆ เช่น ทินเนอร์ สารระเหย, พื้นโรงงานผลิต และเก็บเม็ดพลาสติก ประเภทดังกล่าวข้างต้น โรงงานที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับโรงงานประเภทนี้ควรปูด้วยพื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ [Anti-Static Floor] เพื่อลดการเกิดประกายไฟและจุดระเบิดจนเกิดไฟไหม้หลายครั้ง เช่น เมื่อหลายปีก่อนโรงงานผลิตโฟมย่านพระราม 2 ก็เคยเกิดไฟไหม้เช่นกัน หากเรามีการใช้งานพื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ [Anti-Static Floor] ควรตรวจสอบการนำไฟฟ้าสู่สายดินว่ามีความรวดเร็วเพียงใด และยังคงมีความปลอดภัยในการใช้งานอยู่หรือไม่ อย่างสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน เพราะหากพื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ [Anti-Static Floor] ไม่นำไฟฟ้าอีกต่อไป ทางโรงงานควรทำการ Recoat พื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ [Anti-Static Floor] ใหม่เพื่อให้ได้ค่าการนำไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานดังเดิม เพื่อความปลอดภัยของโรงงาน และพนักงา